บูลฟร็อก..กบยักษ์แอฟริกา รักจะเลี้ยงต้องไตร่ ตรองให้ดี (ไทยรัฐ)
ค่านิยมของการเลี้ยงสัตว์แปลกในปัจจุบันยังไม่เสื่อมถอย เมื่อวันวานกลุ่มผู้ค้าสัตว์เลี้ยงใน ตลาดนัดจตุจักร 2 บอกกับ "หลายชีวิต" ว่า...
ทุกวันนี้ลูกค้ากลุ่มสัตว์แปลก หันกลับมานิยมสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ อย่าง บูลฟร็อก (Bull Frog)ซึ่งเป็นกบยักษ์ใหญ่เชื้อชาติแอฟริกา ส่งผลให้ราคาค่าตัวจากเมื่อก่อนไม่กี่สตางค์กระโดดไปถึงตัวละ 1,500-2,000 บาท "เจ้าชายกบ" ตัวนี้พันธุ์รูปร่างหน้าตาแตกต่างไปจากกบนาอย่างเห็นได้ชัด บูลฟร็อก มีสีน้ำตาลปนเขียว จุดสีน้ำตาล บริเวณส่วนหัวสีเขียวเคลือบน้ำตาล ขาทั้งสี่มีลายน้ำตาลดำ ขาหลังมีลายขวาง ลำตัวอ้วนข้างท้องมีลายน้ำตาลใต้ท้องเป็นสีขาว ผิวหนังส่วนใหญ่เรียบจะมีบ้างเป็นบางส่วนที่ขรุขระ
ความแตกต่างของ บูลฟร็อก ระหว่างตัวผู้กับตัวเมีย นอกจากอวัยวะเพศแล้ว บูลฟร็อก ตัวผู้จะมีวงแก้วหูใหญ่กว่าตาและอยู่ทางด้านหลัง ลำตัวจะมีสีเข้มบริเวณใต้คางซึ่งมีสีจะเหลืองปนเขียวอย่างชัดเจนบริเวณใต้คางจะเป็นสีเหลือง แต่ บูลฟร็อก เพศเมีย ผิวหนังจะสดใสกว่าและมีวงแก้วหูเล็กกว่าตา บูลฟร็อก เมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดยาวประมาณ 8-10 นิ้ว และจะส่งเสียงร้องดังคล้ายวัว ขยายพันธุ์ได้เมื่ออายุ 12-18 เดือน ตัวผู้จะเป็นผู้ออกอาการโดย เพื่อเรียกหาคู่ หากตัวเมียที่มีความพร้อมบริเวณเอวจะพองโต ท้องอูมเมื่อพลิกด้านท้องขึ้นจะไม่เห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนัง เมื่อไข่ถูกผสมน้ำเชื้อแล้วจะฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 3 วัน
การเลี้ยง บูลฟร็อก ควรเลี่ยงการให้อาหารสด เพราะจะทำให้น้ำในบ่อเน่าเสียเร็ว ส่งผลให้เกิดโรคและทำให้การเจริญเติบโตช้าลง ลูกอ๊อดของกบ บูลฟร็อก ในระยะที่มีการงอก 2 ขาหลังจะมีขนาดใหญ่กว่าลูกอ๊อดของกบนา 5-7 เท่า มันจะพัฒนารูปร่างให้โตใหญ่อย่างรวดเร็วจน บูลฟร็อก ถูกขนานนามว่า "กบยักษ์" เมื่ออายุ 6-12 เดือน
ด้วยความที่ บูลฟร็อก มีสรรพนามว่า กบยักษ์ จึงเป็นเหตุให้ไม่มีการวางขายกบชนิดนี้ในตลาดสดแบบทั้งตัว เพราะนอกจากจะมีลักษณะไม่ชวนให้ซื้อหามาประกอบอาหารแล้ว รสชาติยังสู้กบนาไม่ได้ และมีข้อควรสังวรกับสัตว์พลัดถิ่นตัวนี้ คือ บูลฟร็อก จะชอบกินลูกเขียด ลูกหนู ลูกปลา และลูกกบนา ตามที่คำโบราณว่า "สัตว์ใหญ่ไล่กินสัตว์เล็ก" ฉะนั้น ก่อนซื้อหา บูลฟร็อก มาเลี้ยง อยากให้ ไตร่ตรองถามตัวเองสักนิดก่อนว่า จะเก็บไว้นานแค่ไหน……เพราะถ้าเห่อหลงใหลเพียงชั่วครู่ชั่วยาม แล้วปล่อยคืนสู่ธรรมชาติก็หยุดนั้น จงอย่า…. ไม่เช่นนั้นมันอาจกลายเป็นปัญหา อย่างหอยเชอรี่ อีกัวร์น่า และ ไอ้เจ้าชักเกอร์ ปลาเทศบาลที่กำลัง สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้า!!!
รวมเรื่องสัตว์เลี้ยง ทั้ง สุนัข แมว ปลา ฯลฯ พร้อมวิธีดูแลสัตว์เลี้ยง คลิกเลย
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่ค่ะ
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก en.wikipedia.org