ปลาหมอสี

 

ปลาหมอสี

แหล่งกำเนิด (Origin)


          ปลาหมอสีเป็นปลาน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ ทะเลสาบ หนองบึ่ง คูคลองต่างๆ โดยมีแหล่งกำเนิดจาก 2 กลุ่มใหญ่ๆ ในโลก คือ

          กลุ่ม New world  ปลาหมอสีที่พบในส่วนของโลกใหม่ ได้แก่ แถบอเมริกากลาง-ใต้ เช่น แท๊กซัสตอนใต้ ลงมาจนถึงอาเจนตินาของอเมริกาใต้, คอสตาริกา, นิการากัว, บราซิล, ลุ่มแม่น้ำอเมซ่อน, เกาะมาดากาสการ์ , เกาะศรีลังกา, ชายฝั่งทะเลตอนใต้ของอินเดีย ฯลฯ

          กลุ่ม Old world  ปลาหมอสีที่พบในส่วนของโลกเก่า ได้แก่ แถบแอฟริกาใต้, ในทะเลสาบมาลาวี (Lake Malawi ), ทะเลสาบแทนกานยิกา (Lake Tanganyika ), ทะเลสาบวิคตอเลีย(Lake Victoria), แถบแทนซาเนีย ฯลฯ

           ทะเลสาบมาลาวี ( Lake Malawi )

           ทะเลสาบมาลาวี คือแหล่งน้ำและปลา ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติหลักของชาวมาลาวี มีปลามากมายหลากหลายพันธ์ที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบแห่งนี้ ปลาชนิดหลักๆที่มีอยู่ในตลาดปลา คือ Chambo Mlamba Usipa และ Kampango ปลาในทะเลสาบมาลาวีเป็นอาหารหลักประเภทโปรตีนของชาวมาลาวี ที่ใช้รับประทานมากกว่า เนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆถึง 2 เท่า

         ทะเลสาบมาลาวี มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 9 ของทะเลสาบในโลก มีขนาดความกว้าง 560 กม. 80 กม. ความลึกกว่า 700 เมตร และเป็นแนวเขตแดนของประเทศมาลาวีกับโมแซมบิค ทะเลสาบแห่งนี้ยังคงความหลากหลายของสาย พันธุ์ปลาที่มากแห่งหนึ่ง ของโลกมากกว่า 500 ชนิด และปลาตระกูลปลาหมอเป็นพันธ์ปลาที่มีมากที่สุด

          หมู่บ้านของชาวมาลาวี ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งทะเลสาบ โดยมีอาชีพหลักคือการทำประมงจับปลา และอาหารที่ขึ้นชื่อ คือ Chambo และ Nsima

           ทะเลสาบ แทนกานยิกา ( LakeTanganyika )

         ทะเลสาบ แทนกานยิกา เป็นทะเลสาบที่อยู่ส่วนกลางของทวีปแอฟริกา หมู่บ้าน Rift ในแอฟริกาตะวันออก เป็นทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่ มีความยาวกว่า 670 กม. ส่วนที่กว้างที่สุด 80 กม. ความลึกกว่า 1,470 ม. มีเขตแดนทางเหนือติด Burund ฝั่งตะวันออกติด Tanzama ทางใต้ติด Zambia และทางตะวันตกติด Zain ประเทศโดยรอบของทะเลสาบจะเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยมีกิจกรรมดำน้ำ นั่งเรือตกปลา ฯลฯ ปลาในทะเลสาบ แห่งนี้มีสีสันสวยงาม พันธุ์ปลากว่า 200 ชนิด

           ทะเลสาบวิคตอเรีย ( Lake Victoria หรือ Victoria Nyanza)

          ทะเลสาบวิคตอเรีย เกิดจากแม่น้ำไนล์ ตั้งอยู่ระหว่างประเทศ Tangayika ,ประเทศ Uganda และ ประเทศ Kenya ทะเลสาบ มีพื้นที่กว่า 69,480 ตร.กม เป็นทะเลสาบทีใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากLake Superior ในอเมริกาเหนือ จากเหนือจรดใต้ ทะเลสาบมีความยาวกว่า 337 กม. จากตะวันออกถึงตะวันตก กว้างกว่า 240 กม. และมีความยาวของชายฝั่งรวม 3,220 กม. ชื่อของทะเลสาบแห่งนี้ตั้งโดย นาย John H. Speke ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นคนยุโรปคนแรกที่ได้พบทะเลสาบนี้ และได้ตั้งชื่อให้เป็น เกียรติแก่ควีนวิคตอเรีย แห่ง Great Britain

  ประวัติปลาหมอสีในประเทศไทย

          ประวัติปลาหมอสีโดยคร่าวๆ ไม่ได้มีการยืนยันเป็นที่แน่นอนว่าผู้นำเข้านั้นเป็นใคร โดยเมื่อราว ๆ ปี พศ. 2505 มีปลาหมอตัวแรกที่นำเข้ามาชื่อ แจ๊คเดมเซย์ ซึ่งถือเป็นตัวแรกที่ได้มีผู้นำเข้ามาเลี้ยง ต่อมาก็คือ ออสการ์ เป็นปลาหมออีกชนิดหนึ่งเช่นกัน และต่อมาได้ถูกไปแยกสายพันธุ์ออกไปเป็นออสการ์โดยเฉพาะที่เราเห็นกันอยู่

          ส่วนประวัติปลาหมอสีที่นำเข้ามานั้น อยู่ในช่วงประมาณ 30 ปีขึ้นไปโดยถิ่นกำเนิดของปลาหมอสี จะแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ สองกลุ่มคือ

          กลุ่มที่วางไข่กับพื้น หรือซิคคลาโซน่า (CICLASONA) มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาก็คือ แถบอเมริกากลาง อเมริกาใต้ บราซิลและลุ่มแม่น้ำอะเมซอนเป็นหลักใหญ่ ซึ่งได้แก่ ปลาเซวาลุ่มทอง ที่กำลังนิยมอยู่ตอนนี้ นอกจากนี้ยังมีพวกซิลสไปลุ่ม และปลาหมอมาคูลิคัวด้าอีกด้วย

          กลุ่มที่อมไข่ไว้ในปาก มาจากทะเลสาบทางด้านอัฟริกาหรืออัฟริกาใต้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ปลาที่นิยมเลี้ยงก็จะมาจากทะเลสาปมาลาวี แถว ๆ แถบแทนซาเนีย และก็มีพวก แซ พวกซาอี เป็นพวกนิยมจับปลาหมอและก็พวกนี้อีกเช่นกันที่เอาปลาหมอออกขายสู่ตลาดโลก

         ส่วนในประเทศไทยนั้น เริ่มมีคนรู้จักและเป็นที่แพร่หลายเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มมีการที่นิยมเลี้ยงเพื่อความสวยงามมากขึ้น และเริ่มมีการประกวดแข่งขันกันเกิดขึ้นอีกด้วย จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งจัดได้ว่าปลาหมออยู่ในช่วงที่ค่อนข้างบูมมาก และเริ่มเป็นที่รู้จักกันในหมู่นักเลี้ยงปลาพอสมควร

  การเลี้ยงดู

         การเลี้ยงดูปลาหมอจัดได้ว่าเป็นปลาที่มีความอดทนค่อนข้างสูง กินอาหารง่าย จำพวกอาหารสด ลูกกุ้ง ไรทะเล ไส้เดือน หนอนแดง หรืออาหารสำเร็จรูปและการถ่ายน้ำเต็มที่ 1 เดือนให้ถ่ายน้ำได้ 1 ครั้ง หรืออาทิตย์หนึ่งให้ถ่ายน้ำ ออก10% เพื่อเปลี่ยนสภาพของน้ำให้มันดีขึ้น

 ลักษณะนิสัย

           ลักษณะนิสัยของปลาหมอสีเป็นปลาที่จัดได้ว่าค่อนข้างรักถิ่น หวงที่อยู่ ดังนั้นจึงมีความก้าวร้าวอยู่พอสมควร และถ้าหากมีปลาตัวอื่นหลงเข้าไปในถิ่น หรือที่ที่ปลาหมอสีได้สร้างอาณาจักรเอาไว้ก็จะโดนไล่กัดทันที และนี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่สร้างปัญหาให้กับผู้เลี้ยงมือใหม่อยู่ไม่น้อย

  การเพาะเลี้ยง

            การเพาะเลี้ยงถ้าเป็นในลักษณะของรูปฟาร์มก็ควรจะมีพื้นที่มีเงินลงทุน แต่ถ้าจะเพาะเลี้ยงตามบ้านสำหรับผู้เลี้ยงมือใหม่นั้น สมควรที่จะมีตู้ปลาขนาด 24 นิ้ว หรือ 36 นิ้ว และควรเริ่มเพาะจากพันธุ์ที่ง่าย ๆ ก่อนคือ พวกตระกูลอมไข่ หาตัวเมียที่ไม่ค่อยแพงนักประมาณ 7 ตัว และหาตัวผู้ 1-2 ตัว ซึ่งวิธีนี้ปล่อยตัวเมียลงในตู้ประมาณ 5-7 ตัวโดย ใช้ตัวผู้แค่ 1 ตัวและปล่อยเอาไว้เช่นนี้ ถ้าตัวเมียพร้อมจะไข่เมื่อไหร่หรือได้ไข่ไปแล้วนั้น จะสังเกตดูได้ว่าปลาจะหลบมุมซ่อนอยู่ตัวเดียวบริเวณใต้คางจะอูมย้อยลงมา และนั่นก็แสดงว่าได้ไข่แล้วแต่อมเอาไว้ หลังจากนั้น ทิ้งไว้เช่นนั้น 24 ชม.จึงช้อนเอาตัวเมียตัวนั้นออกมาเลี้ยงในตู้ใหม่เพียงตัวเดียว และปล่อยเอาไว้14 วัน มันจะคายออกมาเองนี่คือวิธีเพาะแบบง่ายๆ

           อีกวิธีหนึ่งซึ่งเป็นวิธีแบบสมัยใหม่ โดยเป็นระบบที่พัฒนาแล้ว เป็นวิธีที่ใช้ปากเทียมเข้ามาช่วยโดยจะมีวิธีแกะไข่ ออกจากปากแม่แล้วปล่อยไว้อีก 24 ชม. เช่นกัน จึงนำมาเป่าในปากเทียม ซึ่งวิธีนี้จะทำให้พ่อแม่ปลาสมบูรณ์เต็มที่และพร้อมที่จะไข่ในครั้งต่อๆ ไป และด้วยการบังคับเอาไข่ออกจากปากนี้ถ้าผู้ที่ไม่มีความชำนาญแล้ว จะทำไม่ได้เพราะจะต้องบังคับให้ปลาอ้าปาก โดยใช้วิธีขยับที่โคนเหงือก ถ้าผู้ที่ไม่มีความรู้ในการทำจะทำให้ไข่ปลาเสียหายเพราะปลาหมอจะมีฟันซี่เล็กๆ และละเอียด ถ้าพ่นไข่ออกจากปากโดยรีบร้อนจะทำให้ไข่ปลาเสียหมด และเมื่อนำไข่ที่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มาฟักในปากเทียมแล้วพออายุครบ 15 วัน ก็สามารถเลี้ยงด้วยไรแดง หรืออาหารสำเร็จรูปปั้นเป็นก้อนก็ได้ และเมื่อผ่านไป 60 วันก็จะได้ปลาในขนาดไซซ์ 1 นิ้วโดยประมาณ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ปลาหมอเป็นพันธุ์ที่ดีได้นั้นจะต้องมาจากตัวเมียถึง 70% เพราะตัวเมียจะถ่ายทอดกรรมพันธุ์เป็นส่วนมาก แต่ตัวผู้จะถ่ายทอดแค่สีเท่านั้น เพราะฉะนั้นตัวผู้จึงไม่จำเป็นต้องสวยหรือสมบูรณ์แค่ไหน เพราะมันจะสำคัญอยู่ที่สายพันธุ์ของตัวเมียมากกว่า ซึ่งจะต้องคัดสายพันธุ์ที่ดีและจะต้องนิ่ง เพราะมันจะถ่ายทอดยีนส์ได้ดี แต่ถ้าเป็นพวกปอมปาดัวร์ต้องยอมรับว่าตัวผู้นั้นสำคัญและมีผลมาก

           ลักษณะปลาอมไข่ ปลาตัวเมียจะอมไข่ไว้ในปากประมาณ 7-8 วัน แล้วจะวางไข่ที่จาน หรือภาชนะ ที่เตรียมไว้และตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมแล้วตัวเมียจะเวียนมาอมไข่จนหมด หลังจากนั้นต้องนำปลาตัวเมียมาแคะลูกปลาออกมาเลี้ยงในตู้ต่างหาก โดยสังเกตที่ใต้คางตัวเมียจะมีลักษณะสีดำ ปลาจะโตอยู่ภายในปาก การอมไข่ ของตัวเมีย จะอมไว้ 2 ข้าง ภายใน 1 อาทิตย์จะอมได้ถึง 2 ครั้ง ทำให้ได้ลูกปลา ออกมา 2 คอก

           ลักษณะปลาวางไข่ ต้องนำภาชนะที่ให้ปลาตัวเมียวางไข่ไว้ในตู้เพาะ เช่น เปลือกหอย ก้อนหิน กระถาง การวางไข่ของตัวเมีย ตัวผู้จะเฝ้าไข่และไล่ตัวเมียออกไปประมาณ 2-3 วัน

  โรคของปลา (Disease)

           1. โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก อาทิเช่น โรคที่เกิดจากเห็บระฆัง ซึ่งจะทำให้ปลามีอาการแสดงความรำคาญ โดยการถูตัวกับตู้ปลาหรือหิน จะมีเม็ดกลมแบนเกาะติดอยู่ทั่วไป บริเวณที่เห็บเกาะจะแดงช้ำ โรคเห็บหนอนสมอ โรคเมือกตามตัวและเหงือกอักเสบ โรคที่เกิดจากปลิงใส ทำให้ปลาหายใจลำบาก หายใจถี่ สังเกตบริเวณกระพุ้งแก้มเปิด โรคจุดขาว โดยตามลำตัวและครีบของปลามีจุดขาวเกาะอยู่ เกิดจากอุณหภูมิของน้ำเย็น

           การรักษา แช่น้ำยาฟอร์มาลีนในอัตรา 2.5 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือใช้เมทีลีนบลูในอัตรา 0.4-0.8 ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ไว้ 24 ชม. หรือแช่น้ำที่มีเกลือแกงเข้มข้น 1 % แช่นาน 12-24 ชม. ส่วนโรคจุดขาว ควรเพิ่มอุณหภูมิน้ำชั่วโมงละ 1 องศาเซลเซียส และคงที่ที่ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 วัน

           การป้องกัน ก่อนที่จะนำปลาใหม่เข้าตู้ ควรนำปลากักโรคก่อนโดยใช้ยาข้างต้น แช่รวมทั้งอาหารสดที่จะนำมาให้ปลากิน

            2. โรคที่เกิดจากเชื้อรา ทำให้ปลามีขุยบางๆ คล้ายสำลีหรือเส้นใยตามบริเวณขอบแผล หรือตามตัวรวมทั้งครีบ มีอาการกร่อนและมีสีขาว ตามปลายครีบและหาง

           การรักษา ใช้พาลาไดร์ทกรีน ที่ความเข้มข้น .01 มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ลิตร แช่นาน 24 ชม.

           การป้องกัน ต้องดูแลสภาพภายในตู้ไม่ให้สกปรก หรือหมักหมมของเสีย และเปลี่ยนน้ำ ถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ

           3. โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ปลามีอาการไม่ค่อยกินอาหาร การเซื่องซึม สีผิดปกติ ว่ายน้ำเชื่องช้า ว่ายอยู่ตามมุมตู้ หายใจลำบาก มีเลือดออกตามตัว ครีบกร่อน มีแผลตามตัว ท้องบวมเนื่องจากกระเพาะลำไส้อักเสบ(ปลากินอาหารที่มีแบคทีเรีย)

           การรักษา ใช้ยาฟารากรีนผสมในน้ำ ปิดไฟตู้ (ยามีปฏิกริยากับแสงสว่าง) ทิ้งไว้ประมาณ 24-48 ชม. หรือนำปลาไปพบสัตว์แพทย์ตรวจ ก่อนการใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากยาปฏิชีวนะมีหลายชนิดและป้องกันเชื้อดื้อยา การให้ยาปฏิชีวนะทำได้โดยผสมกับอาหารให้ปลากินหรือใส่ลงไปในน้ำ

           การป้องกัน รักษาอุณหภูมิให้คงที่ (เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ในอุณหภูมิสูง) ความเป็นกรดด่างของน้ำ (ควรมีค่า PH ต่ำ) การให้อาหารโดยไม่มีอาหารเหลือ ไม่ควรมีปริมาณปลาในตู้มากเกินไป เพราะจะทำให้ปลากัดกันและทำให้เกิดบาดแผล

เนื่องจากปลาหมอสีมีมากมายหลายชนิดมากจึงนำเอามาให้ได้บางส่วน ดังนี้

    1. มาลาวีน้ำเงิน
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Aulonacana Stuartqranti
          * แหล่งที่พบ ระหว่างเกาะ nagara และ kande
          * ขนาด 11 cm.
          * ที่อยู่ หินหรือทราย
          * อาหาร กุ้ง ปู ตัวอ่อนของแมลงที่อาศัยอยู่ในทราย

    2. มาลาวีเผือก
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Aulonacana Stuartqranti
          * แหล่งที่พบ -
          * ขนาด 16 cm.
          * ที่อยู่ ทรายและก้อนหิน กระจายอยู่ในทะเลสาบ
          * อาหาร สิ่งมีชีวิตเล็กๆ กุ้ง ตัวอ่อนของแมลง

    3. มาลาวีเหลือง
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Aulonacana Baenschi
          * แหล่งที่พบ Nehomo Ruf
          * ขนาด 11 cm.
          * ที่อยู่ ก้อนหินที่กระจายอยู่ใต้ทะเลสาบ
          * อาหาร สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กที่อยู่ในทราย ตัวผู้จะอยู่ตามถ้ำ ตัวเมียจะอยู่เป็นกลุ่ม

    4. กล้วยหอม
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Labidochromis caeruleus yellow
          * แหล่งที่พบ Cape Kaises and Lunbouslo
          * ขนาด 10 cm.
          * ที่อยู่ ก้อนหินบริเวณความลึก 25 เมตร
          * อาหาร สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง กุ้ง ตัวอ่อนของแมลง

    5. ลิฟวิ่งสโตน
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Nimbochromis livingstonii
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ malawi
          * ขนาด 25 cm.
          * ที่อยู่ อ่าวที่มีหินและทราย
          * อาหาร ปลาเล็กๆ

    6. ไอธ์บูล
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudotropheus greshakei
          * แหล่งที่พบ เกาะ Boad Zulu
          * ขนาด 13 cm.
          * ที่อยู่ หินตามแนวปะการัง
          * อาหาร แพลงตอน

    7. ชิปูเกะ
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Melanochromis chipokae
          * แหล่งที่พบ เกาะ Chidunga Chidunaga
          * ขนาด 14 cm.
          * ที่อยู่ พื้นทรายระหว่างก้อนหิน
          * อาหาร ปลาเล็กๆ

    8. อิเล็กทริล บูล
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Sciaenchromis ahli
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 16 cm.
          * ที่อยู่ หิน
          * อาหาร ปลาเล็กๆ

    9. อาปาเช่
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Aulonacara maylandi
          * แหล่งที่พบ Eceles Ruf
          * ขนาด 11 cm.
          * ที่อยู่ ตามทรายรอบๆปะการังความลึก 15 เมตร
          * อาหาร สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กที่อยู่ในทราย

   10. ปากยาว
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Dimidiochromis compressiceps
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 23 cm.
          * ที่อยู่ น้ำลึกๆ
          * อาหาร ปลาเล็กๆ

   11. บลูดอร์ฟินล์
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyrtora moorii
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 20 cm.
          * ที่อยู่ ทราย-ที่น้ำตื้นๆ
          * อาหาร สิ่งไม่มีชีวิตในกระแสน้ำ

   12. ซูลู
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Protomelas taeniolatus
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 20 cm.
          * ที่อยู่ ก้อนหินที่ไม่ลึกเกิน 10 เมตร
          * อาหาร สิ่งมีชีวิตเล็กๆที่อยู่ตามก้อนหิน 

   13. ฮอนจิ
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Labidochromis hongi
          * แหล่งที่พบ เกาะ Lundo and Liuli
          * ขนาด 9 cm.
          * ที่อยู่ หิน
          * อาหาร พืช 

   14. เพอร์มัต
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Labidochromis Permutt
          * แหล่งที่พบ Higga reef Mlomba bay
          * ขนาด 9 cm.
          * ที่อยู่ ก้อนหินที่ลึกๆ ประมาณ 30-45 เมตร
          * อาหาร สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก 

   15. หางขาว
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudotropheus Acei
          * แหล่งที่พบ อ่าว Nana และ Sengon
          * ขนาด 18 cm.
          * ที่อยู่ พื้นทราย , ตามกิ่งไม้
          * อาหาร ตะกอนบนพื้นทราย 

   16. คากตาริ
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudotropheus Daktari
          * แหล่งที่พบ ชายฝั่ง
          * ขนาด 9 cm.
          * ที่อยู่ ที่ความลึก 5-10 เมตร
          * อาหาร แพลงตอน 

   17. มูริไอ
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Tropheus moorii
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 14 cm.
          * ที่อยู่ ก้อนหินที่อยู่ลึกๆ
          * อาหาร สาหร่าย 

   18. เวนทราลิส
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Neolamprologus Ventralis
          * แหล่งที่พบ แม่น้ำ malagasasi
          * ขนาด 15 cm.
          * ที่อยู่ หินที่น้ำตื้นๆ
          * อาหาร สาหร่ายเป็นเส้นๆ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ 

   19. ชีวีรี่
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudotropheus elongates chewere
          * แหล่งที่พบ ปะการังชีวีรี่
          * ขนาด 9 cm.
          * ที่อยู่ หินและทราย
          * อาหาร แพลงตอน 

   20. เตรโต
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Neolamprologus tetrocephalus
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 14 cm.
          * ที่อยู่ ทรายและก้อนหิน ความลึก 5-15 เมตร
          * อาหาร สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก หอย 

   21. มิดไนท์,ไวท์ท๊อป
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Copadichromis mloto
          * แหล่งที่พบ เกาะ Likoma
          * ขนาด 16 cm.
          * ที่อยู่ ทรายและก้อนหิน
          * อาหาร แพลงตอน 

   22. ฟอนโทซ่า
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyphotilapia frontosa
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 30-40 cm.
          * ที่อยู่ ก้อนหิน ความลึก 10-100 เมตร
          * อาหาร ปลาเล็กๆและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ 

   23. แซงแซว
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Neolamprologus brichardi
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 10 cm.
          * ที่อยู่ หิน
          * อาหาร แพลงตอน 

   24. แตงไทย
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Melanochromis auratus
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ malawi
          * ขนาด 11 cm.
          * ที่อยู่ ทรายและก้อนหิน
          * อาหาร สาหร่าย 

   25. วีนัส
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Nimbochromis Venustus
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 23 cm.
          * ที่อยู่ ทราย
          * อาหาร ปลาเล็กๆ 

   26. ซีบรา
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudotropheus Zebra
          * แหล่งที่พบ ปะการังในทะเลสาบmalawi
          * ขนาด 11 cm.
          * ที่อยู่ หิน
          * อาหาร สาหร่ายและแพลงตอน 

   27. ปากโลมาตัวผอม
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Labeotropheus trevawasae
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 15 cm.
          * ที่อยู่ ผิวน้ำ ตวามลึกไม่เกิน 40 เมตร
          * อาหาร สาหร่าย 

   28. ปากโลมาตัวอ้วน
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Labeotropheus Fuelleboni
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 18 cm.
          * ที่อยู่ น้ำที่มีคลื่น
          * อาหาร สาหร่าย


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ปลาหมอสี อัปเดตล่าสุด 28 สิงหาคม 2552 เวลา 22:48:19 80,224 อ่าน
TOP
x close