รู้ไว้ใช่ว่า...เรื่องคำศัพท์ปลาคาร์พ (ข่าวสารโลกสัตว์เลี้ยง)
ปลาคาร์พ หรือปลาแฟนซีคาร์พ เป็นปลาสวยงามที่มีประวัติความเป็นมายาวนานจึงทำให้ปลาแฟนซีคาร์พมีเรื่องราวน่าสนใจศึกษาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องของชื่อเรียก และคำศัพท์ต่าง ๆ ที่มีมากมาย ซึ่งล้วนเป็นคำศัพท์เฉาพะที่นักเลี้ยงปลาคารพควรรู้จัก เนื่องจากปลาคาร์พนั้นมีอยู่หลายชนิด หลายชื่อเรียก บางชนิดดูคล้ายกัน แต่เรียกชื่อต่างกัน สร้างความสับสนให้กับผู้ที่เริ่มเรียนรู้เรื่อง ปลาคาร์พได้ไม่น้อยทีเดียว การศึกษาเกี่ยวกับคำศัพท์เฉพาะต่าง ๆ ของ ปลาคาร์พ จึงถือเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรก ๆ สำหรับนักนิยม ปลาคาร์พ ศัพท์ปลาคาร์พที่ว่านี้จะมีอะไรบ้างนั้น มาติดตามกันได้เลย
นิชิกิกอย (NISHIKIGOI)
นิชิกิ แปลว่า ผ้าไหมปักลายหลากสี กอย หรือโกย หรือ กออิ หรือโค่ย แปลว่า ปลาไน หรือปลาคาร์พ รวมความหมายว่า ปลาไนที่มีสีสันลวดลายเหมือนผ้าไหมปักลายหลากสี คนไทยเรียกปลาไนญี่ปุ่น ปลาไหนทรงเครื่อง และปลาแฟนซีคาร์พ ภาษาอังกฤษเรียกว่า คัลเลอร์คาร์พ (Colored Carp) แพทเทิร์นคาร์พ (Patterned Carp) ฟลาวเวอร์คาร์(Flower Carp) จนในที่สุด เรียก แฟนซีคาร์พ (Fancy Carp) ซึ่งหมายถึง นิชิกิกอย นั่นเอง
วากอย (WAGOI) (JAPANESE KOI)
หมายถึง ปลาคาร์พ พันธุ์ญี่ปุ่นชนิดธรรมดาที่มีเกล็ดครบสมบูรณ์
ดอยท์ซุกอย (DOITSUGOI) (GERMAN GOI)
เป็น ปลาคาร์พ สายพันธุ์เยอรมัน มีเกล็ดน้อยหรือไม่มีเกล็ด ซึ่งผิดแผกไปจาชนิดมีเกล็ดบริบูรณ์พันธุ์ญี่ปุ่น
โคฮากุ (KOHAKU)
โค แลปว่า แดง ฮากุ แปลว่า ขาว โคาฮากุ คือ ปลาคาร์พ ที่มีสีแดงกับขาว โคฮากุนี้เป็นสีที่นิยมเลี้ยงมากในญี่ปุ่น กล่าวกันว่า นักเล่นปลาแฟนซีคาร์พมักจะเริ่มต้นด้วย โคฮากุ และจบลงด้วยโคฮากุ ปัจจุบัน ปลาจำพวกนี้มีมาก โคฮากุที่ดีนั้น บริเวณของลายสีแดงจะต้องคมชัดและสม่ำเสมอ แดงก็ควรแดงเข้มข้นเหมือนเลือดนก สีขาวก็ควรจะไร้ตำหนิ ขาวโพลนเหมือนหิมะ หากสีขาวของโคฮากุไม่มีคุณภาพดังกล่าวแล้ว ไมว่าปลานี้สีแดงและลวดลายจะสวยเพียงใด ค่าของปล่าก็จะถูกลดดลงเป็นอันมาก ตอนหัวจะต้องมีลายแดง และมีลวดลายตามบริเวณลำตัวทั้งสองด้าน โดยมีความสมดุลย์กัน
ชิโร่ มูจิ (SHIRO MUJI)
ชิโร่ แปลว่า ขาว มูจิ แปลว่า ล้วน ๆ รวมความหมายว่า สีขาวล้วน ๆ หรือสีขาวทั้งหมด ตามปกติถือว่าเป็นปลาที่ไม่มีราคา แต่เมื่อปลาตัวขึ้นก็มีคนนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะปลาคาร์พสีขาวแบบเยอรมัน
อากา มูจิ (AKA MUJI)
อากา แปลว่า แดง อากา มูจิ แปลว่า แดงล้วน หรือปลาคาร์พที่มีสีแดงทั้งตัว
ฮิกอย (HI GOI)
ฮิ แปลว่า แดง กอย แปลว่า ปลาคาร์พ หรือปลาไน รวมความหมายแปลว่า ปลาคาร์พสีแดง หรือปลาไนสีแดง
เบนิ กอย (BENI GOI)
เบนิ แปลว่า แดง กอย แปลว่า ปลาคาร์พ รวมความหมายแปลว่า ปลาคาร์พสีแดง ทั้งนี้ ความแตกต่างของ อากา ฮิ และเบนิ ก็คือ อากา แดงธรรมดา (RED), ฮิ แดงเข้ม สีสว่างออกส้มนิด ๆ (SCARLET), เบนิ แดงเข้ม หรือเป็นแม่สี (ROUGE)
นิดัง โคฮากุ (NIDAN KOHAKU)
ปลาขาวแดงที่มีสีแดงแบ่งเป็น 2 ตอน
ซันดัง โคฮากุ (SANDAN KOHAKU)
ปลาขาวแดงที่มีสีแดง แบ่งเป็น 3 ตอน
ยนดัง โคฮากุ (YONDAN KOHAKU)
ปลาขาวแดงที่มีสีแดงแบ่งเป็น 4 ตอน
โงดัง โคฮากุ (GODAN KOHAKU)
ปลาขาวแดงที่มีสีแดงแบ่งเป็น 5 ตอน
อินะซึมะ โคฮากุ (INAZAMA KOHAKU)
ปลาขาวแดงที่มีลายซิกแซกเหมือนสายฟ้าบนหลังปลา
อิปโป้งฮิ โคฮากุ (IPPON HI KOHAKU)
อิปโป้ง – โมโย (IPPON MOYO) หรือ สเตรทฮิ(STRAIGHT HI) ปลาขาวแดงที่มีสีแดงเริ่มแต่ตอนหัว และต่อเนื่องเป็นแนวตลอดตัว
ดอยท์ชุ โคฮากุ (DOITSU KOHAKU)
ปลาขาวแดงพันธุ์เยอรมัน
โงเตง ซากุระ (GOTEN ZAKURA)
โงเตง แปลว่า ปราสาท ซากุระ แปลว่า ดอกซากุระ รวมความหมายแปลว่า ลาดยแดงเหมือนดอกซากุระในัง หรือปราสาทที่จักรพรรดิประทับ
ไทโชซัน (TAISHO SANKE) หรือ ไทโช ซันโชกุ (TAISHO SANSHOKU)
ไทโช เป็นเชื่อปีสมัยจักรพรรดิไทโช คือเริ่มประมาณ ค.ศ.1912 ซันเก้ หรือ ซันโชกุ แปลว่า 3 สี ไทโช ซันเก้ แปลว่า ปลา 3 สี ที่เกิดขึ้นในสมัยจักรพรรดิไทโชญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วยสีแดง ดำ และขาว
ดอยท์ชุ ซันเก้ (DOITSU SANKE)
ปลา 3 สี สายพันธุ์เยอรมัน
โชวา ซันเก้ (SHOWA SANKE) หรือโชวา ซันโชกุ (SHOWA SANSHOKU)
โชวา หมายถึง ยุคหนึ่งในสมัยจักรพรรดิโชวาครองราชย์เริ่มประมาณ ค.ศ.1927 โชวา ซันเก้ คือ ปลาที่เกิดขึ้นสมัยจักรพรรดิโชวา มี 3 สี โดยมีสีดำเป็นพื้น เน้นด้วยสีแดงและขาว ส่วนสีดำจะต้องเป็นสีที่คาดลงมาเป็นแถบถึงส่วนท้องและโคนครีบอกต้องเป็นสีดำด้วย โชวา ซันเก้ เป็นการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ คิ อุจึริ (KI UTSURI) กับพันธุ์โคาฮากุ (KOHAKU)และให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือปลาชิโร่ อุจึริ ที่มีสีแดงคละอยู่ด้วย
นี่เป็นเพียงคำศัพท์เบื้องต้นพอสังเขป ยังมีคำศัพท์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลาแฟนซีคาร์พอีกมากที่จะนำมาเสนอในโอกาสต่อไป สุดท้ายนี้ขอให้มีความสุขและสนุกกับการเลี้ยงปลาคาร์พตัวโปรด
รวมเรื่องสัตว์เลี้ยง ทั้ง สุนัข แมว ปลา ฯลฯ พร้อมวิธีดูแลสัตว์เลี้ยง คลิกเลย
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่ค่ะ
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก