
รู้ทันปัญหา เมื่อน้องหมาเกิดภาวะ "กระเพาะบิด" (Dogazine)
Dog Care เรื่องโดย : โรงพยาบาลสัตว์บางแค 1
โดยปกติแล้ว ในหน้าร้อนจะมีโรคหลายโรคที่เป็นอันตรายและทำให้สุนัขเกิดอาการป่วยตามมา ไม่ว่าจะเกิดจากอาหารที่สุนัขกิน พฤติกรรมบางอย่างที่โน้มนำให้เกิดโรค หรือลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์แต่ละสายพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วเมื่อมีอากาศที่ร้อนจัดเจ้าของสัตว์หลายคนมักชอบให้สุนัขกินน้ำและอาหารเยอะ ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่สัตว์เลี้ยงของตนได้อย่างไม่คาดคิด
บทความในตอนนี้จะกล่าวถึงโรคที่เป็นอันตรายและอาจส่งผลให้สุนัขเสียชีวิตได้เป็นอันดับต้น ๆ นั่นก็คือ "โรคกระเพาะบิด" (Gastric dilatation and volvulus)

โรคกระเพาะบิด หรือเรียกสั้น ๆ ว่า GDV คือภาวะที่กระเพาะอาหารเกิดการขยายขนาดขึ้นอย่างรวดเร็วจากการสะสมของแก๊ส น้ำ หรืออาหารที่สุนัขกินเข้าไปในปริมาณที่มากกว่าปกติ หรือที่เรียกว่า ภาวะท้องอืด ในคนนั่นเอง และเมื่อกระเพาะอาหารมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นระยะเวลานานร่วมกับกิจกรรมของสุนัขหรือภาวะบางอย่างที่โน้มนำทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของกระเพาะอาหารที่ผิดปกติไป โดยอาจเกิดการบิดหมุนของกระเพาะอาหารบางส่วนไปตามเข็มนาฬิกา ซึ่งสามารถเกิดการบิดตัวของกระเพาะได้ตั้งแต่ 180-270 องศา ส่งผลให้เกิดการอุดตันของหลอดอาหารและส่วนปลายของกระเพาะอาหาร จึงไม่สามารถที่จะระบายแก๊สหรือของเหลวดังกล่าวได้
ทั้งนี้ สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดความผิดปกตินี้ยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่า เกิดจากการที่กระเพาะขยายขนาดก่อนแล้วค่อยเกิดการบิดหมุน หรือเกิดการบิดหมุนหรือการขัดขวางการบีบตัวของกระเพาะอาหารก่อนแล้วค่อยทำให้กระเพาะขยายตามมา

GDV เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยอาการเริ่มแรกที่เป็นสัญญาณเตือนภัยให้เจ้าของสัตว์สังเกตความผิดปกติของสุนัขที่ตนเลี้ยงว่าเข้าข่ายโรคกระเพาะบิดก็คือ สุนัขที่ปกติสุขภาพแข็งแรงดี และใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ แต่อยู่ ๆ ก็มีขนาดของช่องท้องขยายใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะช่องท้องส่วนต้นจะโป่งพองมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว เมื่อใช้มือเคาะตรงบริเวณท้องที่โป่งพองขึ้นจะได้ยินเสียงที่จำเพาะ เหมือนคนตีกลอง (เป็นเสียงที่เกิดจากการสะท้อนของแก๊สที่สะสมในกระเพาะอาหาร) ร่วมกับสุนัขจะแสดงอาการ ดังนี้







ส่วนใหญ่โรคกระเพาะบิดมักมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 25-33% สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่เจ้าของสัตว์นำสุนัขส่งถึงมือสัตวแพทย์ไม่ทัน เพราะอาจสังเกตเห็นอาการผิดปกติเมื่อสุนัขเป็นมานานหลายชั่วโมง และสุนัขเริ่มมีอาการโคม่าแล้ว กลไกการเกิดภาวะนี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและส่งผลเสียต่อระบบร่างกายหลายระบบ คือ...
เมื่อกระเพาะอาหารมีขนาดใหญ่ขึ้น จะไปกดการไหลเวียนของหลอดเลือดที่จะนำเลือดไปสู่หัวใจส่งผลให้ปริมาณเลือดเข้าสู่หัวใจลดลง และทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ เกิดภาวะความดันต่ำ ร่างกายขาดเลือดและสารน้ำอย่างรุนแรงจนเกิดภาวะช็อกตามมา ร่างกายจึงส่งสัญญาณให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ในขณะที่ปริมาณเลือดที่เข้าสู่หัวใจลดลง ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการขาดเลือดและทำงานผิดปกติไป ส่งผลให้เกิดการปรับตัวของหัวใจห้องล่างให้ส่งสัญญาณกระตุ้นการเต้นของกล้ามเนื้อหัวใจขึ้น เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและไม่สม่ำเสมอ
ในขณะเดียวกันกระเพาะที่ขยายขนาดขึ้นจะไปกดกล้ามเนื้อกระบังลมทำให้เกิดภาวะหายใจลำบาก และขาดออกซิเจนตามมา ถ้าเกิดภาวะกระเพาะบิดด้วยแล้วมีโอกาสทำให้กระเพาะขยายใหญ่มากจนเกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร หรือทำให้ผนังกระเพาะยึดมากจนเปื่อย เวลาที่ทำการรักษาโดยสอดท่อระบายแก๊สมีโอกาสทำให้ผนังกระเพาะทะลุตามมาด้วย ผลกระทบที่ตามมาหลังจากเกิดความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือดร่วมกับการขาดออกซิเจน อาจส่งผลทำให้ผนังของกระเพาะอาหารเกิดเป็นเนื้อตาย และอวัยวะข้างเคียงเกิดความเสียหาย เช่น ตับและม้ามโตและขาดเลือด เป็นต้น


แต่อาจจะพบโรคนี้ได้ในสุนัขสายพันธุ์กลาง เช่น พันธุ์ชาร์ไป่ (Shar Pei) เชาเชา (Chao Chao) ค็อกเกอร์ (Cocker Spaniel) เป็นต้น มีบางรายงานพบโรคนี้ในสุนัขสายพันธุ์เล็กได้แต่น้อยมาก ดังนั้นถ้าเจ้าของสัตว์ท่านใดที่เลือกเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงข้างต้นนี้ควรทำความเข้าใจในอาการและกลไกการเกิดโรคนี้อย่างถ่องแท้ ในต่างประเทศนิยมทำการผ่าตัดเพื่อเย็บผนังกระเพาะอาหารของสุนัขที่มีสายพันธุ์ดังกล่าว ให้ติดกับผนังช่องท้อง เรียกว่าวิธี Gastropexy โดยเฉพาะในเพศเมียนิยมทำในขณะทำการผ่าตัดทำหมัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะกระเพาะบิดในภายหลัง






ดังนั้น วิธีป้องกันคือแบ่งให้อาหาร 2-3 มื้อต่อวัน และงดกิจกรรมการออกกำลังกายต่าง ๆ ทั้งก่อนและภายหลังการกินอาหาร และไม่ควรให้กินน้ำในทันทีหลังจากให้อาหารสุนัข โดยทั่วไปควรรอประมาณ 1-2 ชั่วโมง ควรฝึกให้สุนัขมีนิสัยการกินที่ช้าลงในบางที่มีการออกแบบชามอาหารให้สุนัขกินอาหารได้ลำบากขึ้นด้วย แต่มักไม่ค่อยได้ผลนัก และในช่วงหน้าร้อนเนื้ออย่าให้สุนัขกินน้ำหรืออาหารมากเกินไป เพราะจะทำให้กระเพาะมีน้ำหนักมาก และเกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้สูง




จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ถ้าสงสัยว่า สุนัขมีปัจจัยเสี่ยง และมีอาการคล้ายกับโรคกระเพาะบิด ให้รีบนำสุนัขส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เมื่อสัตวแพทย์ตรวจและประเมินสภาพร่างกายแล้ว ในขั้นตอนแรกสัตวแพทย์จะทำการให้สารน้ำและให้สุนัขดมออกซิเจนเพื่อแก้ไขภาวะช็อกก่อน จากนั้นควรตรวจดูว่าหัวใจมีการเต้นที่ผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีควรรีบให้ยาในทันที จากนั้นควรรีบทำการระบายแก๊ส ของเหลว และอาหารที่สะสมออกจากกระเพาะโดยการสอดท่อเข้าทางปาก และทำการล้างท้องเพื่อระบายส่วนของอาหารที่มีการหมักอยู่ในกระเพาะออก
และควรรอให้สัตว์อยู่ในสภาวะที่คงที่ก่อนที่จะนำสุนัขเข้าห้องผ่าตัด โดยส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จในการผ่าตัดถ้าทำการแก้ไขภาวะช็อกได้ภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังจากตรวจพบอาการ ในกรณีที่สอดท่อเข้าทางปากไม่ได้ เพราะมีการบิดหมุนอย่างถาวร ต้องใช้เข็มเจาะระบายแก๊สในกระเพาะออกก่อนและอาจต้องทำหลายครั้งในระหว่างที่รอแก้ไขภาวะช็อก เมื่อสุนัขอยู่ในสภาวะที่คงที่แล้วจึงรีบนำสุนัขเข้าห้องผ่าตัด
จุดประสงค์ในการผ่าตัดนั้น เพื่อแก้ไขตำแหน่งของกระเพาะอาหารให้กลับเข้าที่ และทำการตรวจสอบดูว่ากระเพาะอาหาร และม้ามมีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน ถ้าเกิดเป็นเนื้อตายต้องทำการตัดส่วนนั้นทิ้งไป เพื่อป้องไม่ให้เกิดผลกระทบตามมาต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกายเมื่อเกิดความเสียหายของอวัยวะนั้นๆ จากนั้นควรทำการเย็บตรึงผนังกระเพาะอาหารกับผนังช่องท้องอย่างถาวร เพื่อป้องกันการบิดตัวของกระเพาะที่มักจะเกิดขึ้นใหม่เสมอ
ภายหลังการผ่าตัดจำเป็นที่จะต้องให้สัตว์พักฟื้นที่โรงพยาบาลและต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากสัตวแพทย์เป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมง เพื่อให้สารน้ำ ให้ออกซิเจน และปรับสภาพเลือดในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล ควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูว่ามีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะหรือไม่ ตรวจเช็คอุณหภูมิของร่างกายและความดันเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติคอยระมัดระวังผลแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น เช่น การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร การเกิดเนื้อตายของอวัยวะใกล้เคียง ตรวจเช็คการสร้างแก๊สขึ้นใหม่ในกระเพาะ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ผนังของกระเพาะอาหารยังหดตัวได้ไม่ดีพอภายหลังจากที่มีการขยายขนาดมาก
นอกจากนี้ ต้องให้ยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนตามมา ภายหลังการผ่าตัด 12 ชั่วโมงแรกควรเริ่มให้กินน้ำในปริมาณน้อยแต่วันละหลายครั้ง และเริ่มให้กินอาหารอ่อน ไขมันต่ำ ภายหลังการผ่าตัด ประมาณ 18-24 ชั่วโมง เพื่อฟื้นฟูและเริ่มให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น เมื่อสุนัขเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ เริ่มเดินได้กินน้ำและอาหารได้ปกติ จึงค่อยส่งสุนัขกลับบ้าน
หากเจ้าของสุนัขได้อ่านบทความนี้แล้ว หวังว่าเมื่อสุนัขป่วยด้วยโรคกระเพาะบิดจะมีอัตรารอดชีวิตที่ดีขึ้น เพราะส่วนใหญ่ความล้มเหลวในการรักษาโรคนี้เกิดตั้งแต่ที่เจ้าของนำสุนัขส่งโรงพยาบาลช้าไป หากเกิดกระเพาะบิดมานานกว่า 6-12 ชั่วโมง โดยที่ไม่ได้รับการแก้ไขภาวะช็อกอัตราการตายอาจสูงถึง 50-80% ดังนั้น การทำความเข้าใจในอาการ กลไกการเกิดโรค ผลกระทบที่ตามมา รู้ถึงปัจจัยเสี่ยงและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกระเพาะบิด คงช่วยให้เจ้าของสามารถตระหนักและเข้าใจถึงภัยอันตรายเมื่อสุนัขของตนเป็นโรคนี้ได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
