
ปลาออสก้าร์ (OSCAR)
ชื่อสามัญ Oscar, Peacock Cichlid, Peacook Eye, Velet Cichild, Water Buffalo
ชื่อวิทยาศาสตร์ Astronotus Ocellatus
วงศ์ Cichlidae

อยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำอะเมซอน ปารานา รวมถึงทวีปอเมริกาใต้ ปลาออสก้าร์ จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับปลาหมอเทศ และเป็นปลาที่รู้จักกันทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ เพราะปลาชนิดนี้มีทั้งความสวยงามบวกกับความมีเสน่ห์ในตัวขนาดพอเหมาะและสง่างาม ตลอดจนสีสันที่ไม่มีการตกแต่งเพิ่มเติม เหตุผลนี้จึงทำให้ปลาออสก้าร์ได้รับความนิยมจากหมู่นักเพาะพันธุ์ปลามาโดย ตลอดจนถึงปัจจุบันนี้
ปลาออสก้าร์ที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อจับได้ พบว่าสีสันแปลกตาไม่สวยงามเหมือนกับเพาะพันธุ์ขึ้นเอง เนื่องจากคุณค่าของอาหารที่ปลากินเข้าไปมีน้อย จึงทำให้ระบบสีสันดำ ลำตัวใหญ่ หรืออาจมีสีอื่นๆ ปะปน นิสัยโดยธรรมชาติแล้ว ปลาชนิดนี้จัดได้ว่าเป็นปลาที่ดุร้าย กินเนื้อและกินสัตว์ที่มีขนาดเล็กเป็นอาหาร สำหรับปัจจุบันนี้มีการเพาะพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์เกิดขึ้นอย่างมากมาย

ปลาออสก้าร์เมื่อเจริญเติบโตออกจากไข่ ลำตัวจะมีสีเขียว ตามเกล็ดและผิวหนังมีลวดลายประกอบกับแถบสีที่แตกต่างกัน จนถึงระยะเติบโตเต็มที่ ลำตัวจะเปลี่ยนเป็นสีดำ มีลายสีส้มหรือสีส้มแดง ดูสวยงามและสะดุดตากว่าปลาสวยงามชนิดอื่นๆ ลำตัวค่อนข้างกว้างหนา ปากยื่นออกมาเล็กน้อย แนวลำตัวด้านบนโค้งมน ลักษณะพันธุ์ปลาออสก้าร์ที่สวยงาม ซึ่งทำให้ชาวต่างประเทศได้รู้จักเมืองไทยเรื่อยมาในนามของ "ราชาปลาออสก้าร์" โดยแบ่งออกได้ 2 พันธุ์



ตามปกติแล้วการดูอวัยวะเพศของปลาออสก้าร์ไม่ใช่เป็รเรื่องยากแก่นักเพาะ พันธุ์มืสมัครเล่นหรือมืออาชีพ วิธีการดูง่ายๆ โดยการดูจากลักษณะภายนอกที่ปรากฏออกมาอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งใช้หลักเกณฑ์พิจารณาส่วนต่างๆ ดังนี้
1. การดูบริเวณส่วนหัว ปลาตัวผู้มีลักษณะนูนสูงขึ้น โค้งมนกว่าตัวเมีย ส่วนปลาตัวเมียส่วนหัวลาดลงและใหญ่กว่าปลาตัวผู้
2. การดูบริเวณส่วนครีบ เช่น ครีบท้อง ครีบทวาร ครีบกระโดง ปลาตัวผู้ยื่นยาวแหลมกว่าปลาตัวเมีย
3. การดูบริเวณช่องเพศ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ปลาตัวผู้จะพบว่ามีติ่งแหลมยื่นออกมา ส่วนปลาตัวเมีย ช่องเพศจะมีลักษณะกลม และส่วนนี้จะยื่นยาวออกมาเมื่อใกล้มีการผสมพันธุ์วางไข่ ส่วนท่อวางไข่ของปลาตัวเมียมีลักษณะทื่อและยื่นยาวกว่าปลาตัวผู้

ถึงแม้ปลาออสก้าร์เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามเพียงใดก็ตาม ย่อมมีโรคเข้ามาแทรกแทรงเช่นกัน ส่วนโรคที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และมีความสำคัญมากที่สุดก็คือ โรคจุดขาว หรือโรคอี๊ด

1. การให้อาหารในปริมาณที่พอเหมาะ อย่าให้อาหารมากเกินความต้องการ เพราะเศษอาหารที่ปลากินเหลือจะตกค้างอยู่ภายในตู้ ทำให้เกิดการหมักหมม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคนี้
2. ผู้เพาะพันธุ์ควรมีการถ่ายเทน้ำวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น แต่ก็ต้องระมัดระวังอุณหภูมิของน้ำด้วย ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันก็อาจทำให้เป็นโรคจุดขาวง่ายขึ้น
3. การใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น คลอแรมเฟนิคอล , เตตร้าซัยคลินควรใส่อาทิตย์ละ 1 ครั้งและผสมเกลือลงไปในน้ำทุกครั้งที่ทำการเปลี่ยนน้ำ โดยใช้ยาปฏิชีวนะประมาณ 3 แคปซูล ใส่กับตู้ปลาขนาด 30ตารางนิ้ว และเติมเกลือป่นหรือเกลือเม็ดประมาณ 1 ต่อ 1,000 ส่วน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก wikipedia.org