ทำความรู้จัก นกหงส์หยก นกขนาดเล็ก สีสันสวยงาม นกที่ชอบแต่งตัวและรักสะอาด ชอบแต่งขนหน้ากระจก รวมถึงการวิธีการเลี้ยงนกชนิดนี้
หากพูดถึงนกขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงาม รักความสะอาด
และชอบส่องกระจกแล้วละก็ จะเป็นนกอะไรไปไม่ได้เลย นอกจาก นกหงส์หยก
ซึ่งในวันนี้กระปุกก็มีข้อมูลเกี่ยวกับนกขนาดเล็กชนิดนี้มาฝากกัน
เผื่อใครกำลังคิดจะเลี้ยง จะได้ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งลักษณะภายนอก
นิสัยใจคอ รวมถึงการเลี้ยงดูนกหงส์หยก ไว้ประกอบการตัดสินใจ
- นกหงส์หยก(Zebra Parakeet)
- ชื่อวิทยาศาสตร์ Melopsittacus Undulatus
- ชื่ออื่นที่ใช้เรียกคือ Shell Parrot, Zebra Parakeet, Warbling Grass Parakeet, Undulated Parrot
ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของ Budgerigar นั้นอาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้าทั่วไปในออสเตรเลียปัจจุบันมักเรียกสั้นลงว่า บั๊ดจี้ส์ (Budgies) และ Parakeet ก่อนหน้ามีผู้เข้าใจ ว่านกนี้อยู่ในจำพวก Lovebird แต่ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่าเป็นคนละชนิดกัน ชื่อเรียก Budgerigar เป็นชื่อซึ่งเพี้ยนมาจากสำเนียงพื้นเมืองในออสเตรเลียที่เรียกว่าBetcherrygah แปลว่าอาหารดี หรือกินอร่อย บุคคลแรกที่ได้ศึกษาและนำเรื่องราวในฐานะเป็นนกใหม่ เป็นนักสัตวศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ กูลด์ (Gould) ซึ่งได้เข้าไปศึกษาชีวิตการเป็นอยู่ของสัตว์ต่างๆ ในออสเตรเลีย เมื่อ 110 ปีที่แล้ว
ชนิดและสีของนกหงส์หยก สีขั้นพื้นฐานในปัจจุบันของนกหงส์หยกชนิดธรรมดาได้แก่ สีเขียว(Green) สีฟ้า(Blue) สีเหลือง(Yellow) และขาว สีที่กล่าวมาแต่ละสีมีชื่อเรียกแยกออกไปตามความอ่อนแก่ของ สี โดยแยกเป็นน้ำหนักสีคือ อ่อน , กลาง และ แก่
นอกจากสีธรรมดาดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีอีก 3 สายพันธุ์นกหงส์หยกที่ควรทราบคือ
1. โอแพล์ลิน (Opaline) ชนิดสีนี้มิได้กล่าวเจาะจงว่าเป็นสีใดโดยเฉพาะ แต่จะมีลักษณะเป็น ที่สังเกตุดังนี้ บนคอ ใต้คอ และตรงขอบปีกติดกับไหล่จะไม่มีลายหรือจุด และจะต้องมีสีเหมือนกับ สีของลำตัว สีพื้นของปีก(มีลาย) ก็มีสีประมาณเป็นสีเดียวกับลำตัวเช่นเดียวกัน (นกชนิดธรรมดา ตัวเขียวจะมีหัวเหลือง ใต้คอเหลือง มัจุด 6 จุด และพื้นปีกก็เป็นสีเหลือง)
2. เผือก อัลบิโนส์ (Albinos) ลักษณะที่สังเกตคือ สีตลอดตัวจะประมาณได้เป็นสีเดียว เริ่ม ตั้งแต่ขาวปลอดทั้งตัวหรือมีสีค่อนไปทางสีฟ้า
นกหงส์หยก เป็นนกที่มีขนาดเล็ก มีลวดลาย และสีสันที่สวยงาม
และสามารถแยกออกเป็นหลายพันธุ์ในตระกูลเดียวกัน
นกหงษ์หยกเป็นนกที่ชอบแต่งตัวและรักสะอาด ชอบแต่งขนหน้ากระจก
เราควรมีกระจกให้แก่นกด้วย โดยให้กระจกเหมาะสมกับจำนวนของนก
บางครั้งเราควรที่ใช้ฟร็อคกี้ หรือ ที่ฉีด ฉีดน้ำให้เป็นฟอยๆกระจาย
นกจะมาเล่นน้ำเพื่อทำความสะอาดขน และก็จะแต่งขน ซึ่งจะทำให้นกมีขนที่สวยงาม
การดูเพศของนกนั้นไม่ยากเลย สามารถที่จะสังเกตได้ ไม่ยาก โดยดูที่จมูกของนก ในนกตัวผู้เมื่อเจริญเต็มที่หรือพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จมูกนกจะเป็นสีฟ้าเข้ม และในนกตัวเมียนั้นจมูกของนกเมื่อเจริญเต็มที่หรือพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จมูกของนกจะมีสีออกเป็นสีเนื้อหรือสีน้ำตาลเข้ม สีดังกล่าวจะ เข้มขึ้นเรื่อยๆเมื่ออยู่ในระยะผสมพันธุ์
นกหงส์หยกสามารถเลี้ยงดูได้ง่าย ส่วนมากนิยมเลี้ยงกันในกรงขนาดใหญ่พอที่ นกสามารถบินได้ และต้องมีขนาดให้พอเหมาะกับจำนวนของนกด้วย ตำแหน่งการตั้งกรงนั้นไม่ควร ตั้งไว้ในที่ๆมีอากาศร้อน หรือที่มีลมโกรกมาก ควรไว้ในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก อาหารและน้ำของต้องมีให้นกกินทุกวัน และควรเปลี่ยนอาหารและน้ำทุกวัน เพราะถ้าไม่เปลี่ยนอาจเป็นแหล่งเพราะโรค ของนกได้
โดยธรรมชาติ นกหงส์หยกจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ฉะนั้นถ้าเลี้ยงรวมในกรงใหญ่ เครื่องเล่นต่างๆอาจ ไม่จำเป็น แต่ถ้าเลี้ยงเพียงตัวเดียวหรือคู่เดียว เครื่องเล่นต่างๆก็ไม่อาจมองข้าม นอกจากอุปกรณ์เช่น ถ้วย หรือจานสำหรับใส่อาหาร น้ำ ผัก ทราย ที่ทุกกรงจะขาดไม่ได้และควรมี Clofood (อาหารที่มีส่วนผสมของขนมปัง ไข่ และธาตุที่มีประโยชน์อื่นๆ)
ชื่อนกหงส์หยก
- นกหงส์หยก(Zebra Parakeet)
- ชื่อวิทยาศาสตร์ Melopsittacus Undulatus
- ชื่ออื่นที่ใช้เรียกคือ Shell Parrot, Zebra Parakeet, Warbling Grass Parakeet, Undulated Parrot
ประวัตินกหหงส์หยก
ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของ Budgerigar นั้นอาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้าทั่วไปในออสเตรเลียปัจจุบันมักเรียกสั้นลงว่า บั๊ดจี้ส์ (Budgies) และ Parakeet ก่อนหน้ามีผู้เข้าใจ ว่านกนี้อยู่ในจำพวก Lovebird แต่ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่าเป็นคนละชนิดกัน ชื่อเรียก Budgerigar เป็นชื่อซึ่งเพี้ยนมาจากสำเนียงพื้นเมืองในออสเตรเลียที่เรียกว่าBetcherrygah แปลว่าอาหารดี หรือกินอร่อย บุคคลแรกที่ได้ศึกษาและนำเรื่องราวในฐานะเป็นนกใหม่ เป็นนักสัตวศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ กูลด์ (Gould) ซึ่งได้เข้าไปศึกษาชีวิตการเป็นอยู่ของสัตว์ต่างๆ ในออสเตรเลีย เมื่อ 110 ปีที่แล้ว
ชนิดและสีของนกหงส์หยก สีขั้นพื้นฐานในปัจจุบันของนกหงส์หยกชนิดธรรมดาได้แก่ สีเขียว(Green) สีฟ้า(Blue) สีเหลือง(Yellow) และขาว สีที่กล่าวมาแต่ละสีมีชื่อเรียกแยกออกไปตามความอ่อนแก่ของ สี โดยแยกเป็นน้ำหนักสีคือ อ่อน , กลาง และ แก่
นอกจากสีธรรมดาดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีอีก 3 สายพันธุ์นกหงส์หยกที่ควรทราบคือ
1. โอแพล์ลิน (Opaline) ชนิดสีนี้มิได้กล่าวเจาะจงว่าเป็นสีใดโดยเฉพาะ แต่จะมีลักษณะเป็น ที่สังเกตุดังนี้ บนคอ ใต้คอ และตรงขอบปีกติดกับไหล่จะไม่มีลายหรือจุด และจะต้องมีสีเหมือนกับ สีของลำตัว สีพื้นของปีก(มีลาย) ก็มีสีประมาณเป็นสีเดียวกับลำตัวเช่นเดียวกัน (นกชนิดธรรมดา ตัวเขียวจะมีหัวเหลือง ใต้คอเหลือง มัจุด 6 จุด และพื้นปีกก็เป็นสีเหลือง)
2. เผือก อัลบิโนส์ (Albinos) ลักษณะที่สังเกตคือ สีตลอดตัวจะประมาณได้เป็นสีเดียว เริ่ม ตั้งแต่ขาวปลอดทั้งตัวหรือมีสีค่อนไปทางสีฟ้า
3. ลูติโนส์ (Lutinos)เป็นนกที่มีสีเหลืองปลอด หรือมีสีค่อนไปทางเขียวทั้ง 2 ชนิด
คือขาว และเหลืองนี้ ลักษณะสำคัญที่เห็นได้ชัดคือต้องมี นัยน์ตาสีแดง
ลักษณะทั่วไป
การดูเพศนกหงส์หยก
การดูเพศของนกนั้นไม่ยากเลย สามารถที่จะสังเกตได้ ไม่ยาก โดยดูที่จมูกของนก ในนกตัวผู้เมื่อเจริญเต็มที่หรือพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จมูกนกจะเป็นสีฟ้าเข้ม และในนกตัวเมียนั้นจมูกของนกเมื่อเจริญเต็มที่หรือพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จมูกของนกจะมีสีออกเป็นสีเนื้อหรือสีน้ำตาลเข้ม สีดังกล่าวจะ เข้มขึ้นเรื่อยๆเมื่ออยู่ในระยะผสมพันธุ์
นกหงษ์หยกจะจับคู่เมื่อมันพร้อมที่จะผสมพันธุ์ โดยสังเกตได้จาก นกอยู่กันเป็นคู่ ไซร้ขนให้กัน จะคอยป้อนอาหารให้กัน
การเลี้ยงดู
นกหงส์หยกสามารถเลี้ยงดูได้ง่าย ส่วนมากนิยมเลี้ยงกันในกรงขนาดใหญ่พอที่ นกสามารถบินได้ และต้องมีขนาดให้พอเหมาะกับจำนวนของนกด้วย ตำแหน่งการตั้งกรงนั้นไม่ควร ตั้งไว้ในที่ๆมีอากาศร้อน หรือที่มีลมโกรกมาก ควรไว้ในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก อาหารและน้ำของต้องมีให้นกกินทุกวัน และควรเปลี่ยนอาหารและน้ำทุกวัน เพราะถ้าไม่เปลี่ยนอาจเป็นแหล่งเพราะโรค ของนกได้
โดยธรรมชาติ นกหงส์หยกจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ฉะนั้นถ้าเลี้ยงรวมในกรงใหญ่ เครื่องเล่นต่างๆอาจ ไม่จำเป็น แต่ถ้าเลี้ยงเพียงตัวเดียวหรือคู่เดียว เครื่องเล่นต่างๆก็ไม่อาจมองข้าม นอกจากอุปกรณ์เช่น ถ้วย หรือจานสำหรับใส่อาหาร น้ำ ผัก ทราย ที่ทุกกรงจะขาดไม่ได้และควรมี Clofood (อาหารที่มีส่วนผสมของขนมปัง ไข่ และธาตุที่มีประโยชน์อื่นๆ)
อาหารของนกหงส์หยก
ข้าวฟ่าง
คืออาหารหลักของนกหงษ์หยก ซื้อได้ตามร้านค้าทั้วไปปัจจุบันอยู่ที่
ราคาประมาณ ถุงละ 20 บาท เป็นเมล็ดพืชเมล็ดเล็กๆ
ควรซื้อแบบที่แบ่งขายใส่ถุง มากกว่า เพราะจะทำให้อาหารดูสด
และป้องกันฝุ่นได้
เมล็ดกวด แคลเซียม
เมล็ดกวด แคลเซียม หรือ กระดองปลาหมึก เป็นสิ่งสำคัญสำหรับนกเลยทีเดียว จากประสบการณ์ของผู้เขียน
คิดว่าสำคัญมากเพราะเมล็ดกวดหรือแคลเซียม(กระดองปลาหมึก)จะช่วยย่อยอาหาร
ในลูกนกถ้าขาดของพวกนี้อาจจะมีอาการผิดปกติ ไม่แข็งแรง หรือตายได้
เมล็ดกรวด อาจจะนำมาจากทรายก็ได้แต่ควรล้างด้วยน้ำสะอาดเสียก่อน
แคลเซียม(กระดองปลาหมึก) อาจจะหาซื้อได้ในร้านที่ขายนกร้านใหญ่
หรืออาจจะหาซื้อได้ที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ราคาไม่หน้าแพงมาก
ขายอยู่ที่ราคาประมาณ อันละ 5 บาทซึ่งมีขนาดใหญ่
ผักใบเขียว
เป็นตัวบำรุง นกที่สำคัญ เช่น กระหล่ำดอก คะน้า ผักกาดเขียว ผักบุ้ง เป็นต้น และต้องล้างให้สะอาดด้วยเพื่อป้องกันยาฆ่าแมลง
น้ำ
เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ที่นกจะขาดไม่ได้เลย ควรเปลี่ยนน้ำทุกวัน
เพราะถ้านกที่เป็นโรคขี้ลงไปอาจทำให้เป็นที่เพาะเชื้อโรค
ถ้านกตัวอื่นกินเข้าไปอาจพากันติดกันหมดทั้งกรงได้