
มาลดพุงแมวกันเถอะ (โรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์ 4 โพลีคลีนิค)
โดย สพ.ญ. รัตมา โชติอภิสิทธิ์กุล
รู้ไหมว่า แมวตัวอ้วน ๆ พุงพุ้ย เดินต้วมเตี้ยม อุ้ยอ้ายน่ารักน่าหยิกนั้น ถือเป็นปัญหาที่โน้มนำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคข้อกระดูก โรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่างเป็นต้น ว่าแต่ว่าแมวแบบไหนนะถึงจะเรียกว่าอ้วน!!!
ทั้งนี้ มีการจัดกลุ่มความสมบูรณ์ของร่างกาย (Body condition score :BCS) แบ่งแมวออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน คือ...





แมวที่มีระดับความสมบูรณ์ตั้งแต่ 4 -5 จะถือว่าเป็นแมวอ้วน ควรรีบลดน้ำหนักก่อนที่โรคร้ายจะถามหา ซึ่งการลดน้ำหนักนั้น เราจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน และเป็นไปได้ไม่หักโหมแมวจนเกินไป ระยะไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป 2-3 อาทิตย์กำลังเหมาะทีเดียว เช่นน้อง แมวหนัก 8 กิโลกรัม อาจเริ่มด้วยการลดน้ำหนัก 0.4 กิโลกรัมใน สองอาทิตย์ (5% ของน้ำหนักที่มีอยู่) จากนั้นอีกสองอาทิตย์ถัดไปก็ลดน้ำหนักลงอีก 5% จนได้ BCS 3 – 3.5 ค่อยสิ้นสุดโปรแกรมการลดน้ำหนัก
การลดน้ำหนักแมวมีหลักการง่าย ๆ 2 อย่างคือ


การคำนวณปริมาณอาหารที่ให้แต่ละวัน โดยแบ่งให้เป็น 2 มื้อ แต่ถ้าแมวยังหิวมาก มาขออาหารอยู่เรื่อย ๆ อาจต้องแบ่งอาหารออกเป็น 3-4 มื้อแทนการลดมื้ออาหาร อาจทำให้แมวหงุดหงิดและกระตุ้นให้เกิดความอยากอาหารมากขึ้น
การเปลี่ยนอาหารต้องค่อยๆเพิ่มปริมาณอาหารใหม่ผสมกับอาหารเดิมเข้าไป อาจใช้เวลา 1 อาทิตย์ค่อยแทนที่อาหารใหม่เข้าไปทั้งหมด อย่าให้แมวอดอาหารนาน ๆ เพราะจะทำให้เกิดภาวะไขมันในตับเสื่อมตามมาได้ (hepatic lipidosis)
หรืออาจเปลี่ยนจากอาหารเม็ดมาเป็นอาหารกระป๋องหรืออาหารเปียกแทน เพราะในอาหารจะมีน้ำอยู่ค่อนข้างเยอะ ซึ่งจะทำให้แมวกินอิ่มแต่ได้รับแคลอรีลดลง ชั่งและประเมินน้ำหนักทุกสองอาทิตย์ และถ่ายรูปเป็นข้อมูลพื้นฐานไว้ อย่าหมดกำลังใจถ้าแมวน้ำหนักไม่ลดลง ให้ลองย้อนกลับไปดูว่า โปรแกรมของเราเคร่งครัดดีหรือยัง มีใครแอบให้ขนม หรือน้องเหมียวแอบออกไปกินอาหารของตัวอื่นหรือเปล่า ถ้าทำดีแล้วแต่น้ำหนักไม่ลด ให้ลดปริมาณอาหารลงมาอีก 10 -15 % แมวบางตัวอาจใช้เวลาลดน้ำหนักถึง 6 เดือน กว่าจะได้หุ่นสวยเพรียวถูกใจ แต่ต้องสุขภาพดีแข็งแรงไม่เป็นโรค


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
