11ข้อรักษาปลาป่วย (กรมประมง) 
1. ควรแยกปลาตัวที่ป่วยนั้นทันที เพื่อทำการรักษาและวินิจฉัยโรค

2. ในขณะวินิจฉัยโรค ไม่จำเป็นต้องนำปลาขึ้นพ้นน้ำ ควรตักปลาไว้บนผิวน้ำสำหรับบ่อ ชิดกระจกสำหรับตู้กระจก

3. ควรปรับน้ำในภาชนะที่แยกปลาไปรักษาให้อุณหภูมิในน้ำใกล้เคียงกับน้ำในภาชนะที่ใช้เลี้ยง

4.เมื่อแยกปลาป่วยออกไปแล้ว ควรใส่ยาลงในภาชนะที่เลี้ยงด้วย เพื่อป้องกันเชื่อโรคที่อาจตกค้างอยู่ไม่ให้แพร่ระบาดไปสู่ปลาตัวอื่น

5. ควรใส่เกลือทุกครั้งที่ทำการรักษาโรค เพราะเกลือมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื่อโรคบางชนิด

6. ตัวยาบางชนิดมีความไวต่อแสง ดังนั้นการใส่ยาควรใส่ในช่วงเย็น เพื่อป้องกันการเสื่อมของฤทธิ์ยา

7. อุณหภูมิของน้ำควรปรับให้สูงขึ้น อยู่ในช่วง 27-30 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมกับการรักษาปลาป่วย

8. อากาศควรมีมากกว่าปกติ เพราะปลาป่วยจะต้องการออกซิเจนมากเป็นพิเศษ

9. ในระหว่างที่ทำการรักษาอยู่นั้น ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน เพื่อที่จะได้เอาเชื่อโรคที่หลุดจากตัวปลาออก

10. ปลาที่พึ่งหายป่วย ควรกักทิ้งไว้ 2-3 วัน ก่อนนำไปเลี้ยงรวมกับปลาอื่นๆ

11. เมื่อรักษาปลาจนหายดีแล้ว ก็ควรเก็บทำความสะอาดภาชนะที่ใช้รักษาปลาให้สะอาด เพื่อป้องกันการหลงเหลือของเชื้อโรค
ทั้งหมดนี่คือขั้นตอนหรือวิธีการดูแลรักษาเมื่อปลาของท่านเป็นโรค ซึ่งเป็นวิธีการง่าย ๆ ที่ท่านสามารถทำได้ด้วยตัวของท่านเอง...
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง