x close

หูชั้นนอกน้องหมาอักเสบ...ทำไงดีน้า





หูชั้นนอกอักเสบ (โลกสัตว์เลี้ยง)


           บรรดาเจ้าของสุนัขสังเกตไหมว่า ทำไมอยู่ ๆ “หูสุนัขของตนเองถึงมีกลิ่นที่เหม็น” หรือ “ทำไมน้องแมวของเค้าชอบเกาหูมากเลย แถมยังมีขี้หูดำมาก ๆ น้องเหมียวเป็นอะไรเนี้ย” หรือ “สุนัขของผมชอบเอาหูไปถูไปกับพรม แต่ที่ผ่านมาผมไม่พบว่ามีความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นกับเจ้าตูบเลยนี่ ทำไมเจ้าตูบของผมถึงทำแบบนี้หล่ะ” ถ้าหากบรรดาเจ้าตูบและน้องเหมียวที่บ้านของคุณมีอาการเช่นนี้ สันนิษฐานได้เลยว่า บรรดาลูก ๆ ของคุณอาจจะเป็นหูชั้นนอกอักเสบ สาเหตุที่ทำให้เกิดหูอักเสบ ปัจจัยอยู่ 2 อย่าง ได้แก่

ปัจจัยหลัก เป็นปัจจัยที่มักทำให้เกิดการอักเสบโดยตรงบริเวณช่องรูหูส่วนนอกของรูหูชั้นนอก ได้แก่

           -    การติดพยาธิ เช่น การมีไรหูของเจ้าตูบ และเจ้าเหมียวก็จะทำให้บริเวณช่องรูหูส่วนนอกเกิดอาการอักเสบ

           -    การติดเชื้อแบคทีเรีย

           -    การติดเชื้อยีสต์หรือเชื้อรา

           -    ภาวะภูมิแพ้ เช่น โรคผิวหนังที่เกิดจากภาวะภูมิแพ้ของร่างกาย (atopy skin disease) เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งตอบสนองไวเกินไป จัดเป็นสาเหตุหลักที่สำคัญของปัญหาหูอักเสบ ได้แก่ การแพ้สิ่งสูดดม การแพ้อาหาร แพ้สิ่งสัมผัส หรือแพ้ยา

           -    การมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในรูหูหรือการได้รับบาดเจ็บต่าง ๆ สุนัขจะเกาหรือทำร้ายตัวเองจนเกิดบาดแผลและเป็นผลให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนตามมาได้

           -    ความผิดปกติทางฮอร์โมน เนื่องจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนการทำความสะอาดช่องหู ช่องหูของสุนัขและแมวจะมีลักษณะเป็นท่อรูปตัว L มักมีขนขึ้นมากในช่องหูต้องถอนออกให้เรียบร้อย

           -    ความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุในช่องรูหูส่วนนอกของหูชั้นนอก
ปัจจัยโน้มนำ ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมภายในช่องรูหูส่วนนอก ซึ่งเป็นผล ทำให้ปริมาณหรือชนิดของแบคทีเรียที่อยู่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยดังกล่าวได้แก่

           -    ลักษณะโครงสร้างประจำพันธุ์ของสุนัขที่มีช่องหูตีบ แคบ ใบหูพับลงหรือมีขนในช่องหูมาก

           -    เจ้าตูบที่ชอบเล่นน้ำหรือว่ายน้ำเป็นประจำ อาจจะมีโอกาสที่น้ำจะเข้าหุได้ง่ายแล้วก่อให้เกิดหูอักเสบได้

           -    การดูแลรักษาทำความสะอาดช่องรูหูอย่างไม่ถูกวิธี เช่น ใช้แอลกอฮอล์ 70% มาเช็ดหูให้เจ้าตูบกับเจ้าเหมียว เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะเยื้อบุผิวที่หูเป็นอวัยวะที่บอบบาง อาจเกิดการอักเสบได้ง่าย





ลักษณะอาการ

           1. หูมีกลิ่นเหม็น เป็นในกรณีที่หูมีการอักเสบเรื้อรัง จะทำให้ขี้หูสีผิดปกติ หูมีกลิ่นเหม็นมาก ๆ ทำให้เสียสุขภาพจิตทั้งเจ้าของและสัตว์เลี้ยง

           2. มีการเกาหู หรือเอาหู (หัว) ไปถูกับวัตถุ เป็นในกรณีที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหู จะทำให้สัตว์เลี้ยงรู้สึกเจ็บปวด ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน จะทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาดได้

           มีสารคัดหลั่งออกมาจากช่องหู จะพบในกรณีที่สัตว์เลี้ยงมีช่องหูอักเสบมาจากไรหู จะมีขี้หูสีน้ำตาลแห้ง ๆ จะรู้สึกคัน และเกาบริเวณใบหูตลอดเวลา มีการสั่นหัว หรือเอียงหัวไปด้านใดด้านหนึ่ง

           3. ช่องหู หรือใบหูมีสีแดง หรือบวม มีอาการเจ็บรอบ ๆ หู

           4. มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น ซึม หรือหงุดหงิด ไม่ร่าเริงเหมือนปกติ

แนวทางป้องกันและการรักษา

           เนื่องจากสาเหตุของการเกิดปัญหาของช่องหูมีสาเหตุหลายอย่าง การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเพียงอย่างเดียวนั้นจึงไม่ใช่คำตอบของการรักษาทั้งหมด ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุด คือการป้องกันไม่ให้เกิด แนวทางป้องกัน ที่ช่วยให้สุนัขและแมวห่างไกลจากโรคหูอักเสบ ได้แก่

           -    หมั่นดูแลสังเกตลักษณะขี้หูของสัตว์เลี้ยงว่ามีสีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ มีกลิ่นเหม็นมากน้อยแค่ไหน

           -    ทำความสะอาดช่องหูและใบหูเป็นประจำอย่างสม่ำเสมออย่างถูกวิธี โดยหยอดน้ำยาลงในช่องหูแล้วนวดเบา ๆ บริเวณโคนหูประมาณ 30 วินาที แล้วจึงซับให้แห้งด้วยลำสีสะอาดและใช้ก้านไม้ที่พันด้วยสำลีที่ชุ่มน้ำยาทำ ความสะอาดช่องหู ทำซ้ำกันจนไม่พบว่ามีเศษเนื้อเยื่อ หรือขี้หูหลงเหลืออยู่ในช่องหูอีก หลังจากทำความสะอาดหูแล้ว ปล่อยให้สัตว์เขาสะบัดหู หรือสะบัดหัว สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เนื่องจากการเช็ดหูบ่อยเกินไปอาจทำให้เยื่อบุช่องหูระคายเคืองได้

           -    พาไปพบสัตวแพทย์เป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่ดีต่อเจ้าตูบและเจ้าเหมียว

ซึ่งวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหาและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น

           -    การติดเชื้อแบคทีเรีย รักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมต่อชนิดของแบคทีเรียที่ก่อโรคนั้น

           -    การรักษาการแพ้มัก รักษาโดย การหมั่นทำความสะอาดช่องหูอย่างสม่ำเสมอ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดหู กินยาแก้แพ้ และเสริมกรดไขมันบางชนิด บางครั้งอาจจำเป็นต้องให้ยาลดอักเสบที่มีผลกดระบบภูมิคุ้มกันร่วมด้วย

           -    การคิดไรในหู หลักสำคัญในการกำจัดไรในหูให้ได้ผลนั้น จะต้องจะรักษาด้วยยากำจัดไรทั้งที่อยู่ในช่องหูและตามส่วนอื่นของร่างกายด้วย ดังนั้นภาพยอดหูเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จำเป็นต้องใช้ยากำจัดปรสิตภายนอกที่อยู่ตามร่างกายร่วมด้วย

           -    การติดเชื้อยีสต์ รักษาด้วยยาด้านเชื้อราแบบเฉพาะที่ในช่องหู เพียงอย่างเดียว ถ้าในกรณีติดเชื้อรุนแรงนั้นจะรักษาด้วยยาด้านเชื้อราแบบเฉาพะที่ในช่องหู ร่วมกับการกินยาฆ่าเชื้อยีสต์ร่วมด้วย

           -    กรณีปัญหาช่องหูที่เกิดมาจากโรคอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น ความผิดปกติทางฮอร์โมน หรือการแพ้ จะต้องให้การรักษาสัตว์ทั้งตัว ไม่เฉพาะแต่ช่องหู เช่น การรักษาการแพ้สิ่งสูดดมนั้น จะต้องตรวจหดสอบการแพ้แล้วพยายามหลีกเลี่ยงสารดังกล่าว หรือการเสริมฮอร์โมนที่ผิดปกติ เป็นต้น

           หากบรรดาเจ้าของสังเกตเห็น น้องตูบและน้องเหมียวของท่านมีอาการดังที่กล่าวมาข้างตน ผู้เขียนแนะนำว่าพาไปพบคุณหมอดีที่สุดค่ะ เพราะสัตว์เลี้ยงเขาพูดไม่ได้ เจ็บตรงไหน ปวดตรงไหนเขาบอกเจ้าของไม่ได้หรอกคะ บรรดาเจ้าของต้องอาศัยการสังเกต หมั่นดูแลเอาใจใส่เขาอย่าสม่ำเสมอ เขาจะได้ไม่เจ็บไม่ป่วย อยู่เป็นเพื่อนเราไปได้อีกนาน ๆ ค่ะ ... ^_^






ขอขอบคุณข้อมูลจาก





เรื่องที่คุณอาจสนใจ
หูชั้นนอกน้องหมาอักเสบ...ทำไงดีน้า อัปเดตล่าสุด 26 กรกฎาคม 2555 เวลา 15:20:37 12,575 อ่าน
TOP