
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก siamensis.org
ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ (สวทช.) เผย ไทยค้นพบจิ้งจก - ตุ๊กแก 10 ชนิดใหม่ในโลก วอนรัฐออกกฏควบคุ้มให้สัตว์ใหม่ขึ้นทะเบียนสัตว์คุ้มครอง
โดยนายนณณ์ ผาณิตวงศ์ นักศึกษาปริญญาเอก คณะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เปิดเผยถึงการค้นพบจิ้งจก และตุ๊กแกชนิดใหม่มากกว่า 10 ชนิด ซึ่งค้นพบได้ในเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น โดยเป็นการร่วมมือกันสำรวจระหว่าง นักอนุกรมวิธานหลายหน่วยงาน กับ กลุ่มสยามเอ็นสิส (siamensis.org) ในการสำรวจครั้งนี้
ซึ่งการค้นพบ จิ้งจก - ตุ๊กแก ชนิดใหม่ของโลกในครั้งนี้ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของพันธ์สัตว์ในกลุ่มจิ้งจก - ตุ๊กแก ภายในประเทศไทย ที่มีมากกว่า 60 ชนิดแล้ว โดยจิ้งจก - ตุ๊กแกชนิดใหม่นี้ ได้รับการยอมรับและถูกตีพิมพ์นิตยสาร ZOOTAXA นิตยสารที่ระบุการค้นพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่ของโลก


ตุ๊กกายถ้ำเหนือ หรือ ตุ๊กกายดำนุ้ย
1. ตุ๊กกายถ้ำเหนือ หรือ ตุ๊กกายดำนุ้ย (ตุ๊กกายเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายกับตุ๊กแก แต่มีขนาดเล็กกว่า จัดอยู่ในสัตว์ตะกูลเดียวกับ จิ้งจกและตุ๊กแก แต่ไม่สามารถเกาะผนังได้เนื่องจากไม่มีปุ่มดูด) เป็นตุ๊กกายที่มีลายสีน้ำตาลเข้มมีลายขวางคาดลำตัว พบภายในภาคเหนือของประเทศไทย

ตุ๊กกายถ้ำปล้องทอง

ตุ๊กแกถ้ำหินปูน
3. ตุ๊กแกถ้ำหินปูน หรือ ตุ๊กแกถ้ำอาจารย์วีรยุทธ ลักษณะบนลำตัวของตุ๊กแกชนิดนี้จะมีลายคล้ายตัว T อยู่บนหลัง พบในถ้ำในเขตจังหวัดสระบุรี

จิ้งจกนิ้วยาวอาจารย์ธัญญา
4. จิ้งจกนิ้วยาวอาจารย์ธัญญา พบในเขตจังหวัดสุราษฏร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล เป็นจิ้กจกชนิดยาวที่เคยถูกจัดอยู่ในประเภทจิ้งจกนิ้วยาวสยาม

จิ้งจกนิ้วยาวคลองนาคา
5. จิ้งจกนิ้วยาวคลองนาคา พบในเขตจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา และภูเก็ต

จิ้งจกนิ้วยาวหมอสุเมธ
6. จิ้งจกนิ้วยาวหมอสุเมธ พบเฉพาะในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี

จิ้งจกนิ้วยาวหัวสีส้ม
7. จิ้งจกนิ้วยาวหัวสีส้ม เป็นจิ้งจกที่บริเวณหัวและหางมีสีส้ม พบในเขตจังหวัดกาญจบุรี

จิ้งจกนิ้วยาวคอจุด
8. จิ้งจกนิ้วยาวคอจุด มีลักษณะจุดสีดำ ๆ อยู่บริเวณด้านข้างของคอ นพบเฉพาะเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

จิ้งจกนิ้วยาวนราธิวาส
9. จิ้งจกนิ้วยาวนราธิวาส มีเส้นสีอ่อนพาดกลางหลัง และมีเกล็ดที่เป็นตุ่มนูนบนหลังเรียงแถวเป็นระเบียบ พบเฉพาะในเขตจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา

จิ้งจกนิ้วยาวนิยมวรรณ
10. จิ้งจกนิ้วยาวนิยมวรรณ มีสีเหลืองคาดตามยาวบริเวณใบหน้า 1 คู่ และมีสีสันสวยงามมาก พบเฉพาะในเขตจังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล
อย่างไรก็ตาม สัตว์ในกลุ่มจิ้งจก - ตุ๊กแก กำลังถูกรุกรานและโดนทำลายถิ่นอาศัย จากการระเบิดภูเขาหินปูน ซึ่งเป็นที่อยู่ของสัตว์จำพวกนี้ โดยนายนณณ์ ได้ออกมากล่าวถึงกรณีนี้ว่า สัตว์ที่ถูกค้นพบใหม่นั้นจะยังไม่มีรายชื่ออยู่ในกลุ่มสัตว์คุ้มครอง จึงอาจจะทำให้สัตว์โดนลักลอบนำไปขาย ดังนั้นอยากให้ทางรัฐบาลมีกฏหมายที่คุ้มครองสัตว์ที่ถูกค้นพบใหม่สามารถขึ้นชื่อเป็นสัตว์คุ้มครองได้อย่างรวดเร็วกว่านี้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

