ปลากัด กับภาษาคนกัดปลา





ภาษาคนกัดปลา (โลกสัตว์เลี้ยง)


          ปล้ำปลา หมายถึง การนำปลากัดเก่งของตนเองมาลองซ้อมกัดดู ว่าใช้ได้หรือไม่

          เลี้ยงยา หมายถึง การใช้น้ำยาเคมี หรือ น้ำยาจากธรรมชาติ เช่น เปลือกต้นมะซาง, น้อยโหน่ง, น้อยหน่า, ยาสูบ, ใบสมอ และใบกรวย เป็นต้น มาหมักให้ตัวยาซึมเข้าในเกล็ด หรือติดตามครีบหาง เป็นการเคลือบตัวปลาเพื่อให้มีผลแพ้ชนะได้เปรียบคู่แข่ง (ปลาคู่ต่อสู้อาจเกิดอาการเมาหรือไม่กัดได้)

          มารุก หมายถึง การมาท้าทายหรือท้ากัด อาจเกี่ยวกับการพนันขันต่อด้วย

          ตำหนิปลา หมายถึง การที่เจ้าของปลานำปลามากัด โดยไม่ได้ดูให้ละเอียดว่าปลาไม่สมบูรณ์ เช่น เกล็ดพอง, ปากเน่า, มีแผล และมีสิว เป็นต้น

          กัดยอด หมายถึง การกัดในส่วนบนของปลา เช่น หัว, ตา และ ปาก

          หนังดี หมายถึง การที่เกล็ด หรือผิวหนังของปลาไม่ได้รับการกระทบกระเทือน จากการกัดของคู่ต่อสู้หรือไม่มีบาดแผลให้เห็น

          ผ่าปลา หมายถึง การผสมพันธุ์ปลาใหม่ โดยนำปลาจากที่อื่นๆ หรือครอกอื่นๆ มาผสมพันธุ์กับปลาของตน ทั้งนี้อาจต้องรู้สึกถึง ชาติพันธุ์และลักษณะการกัดด้วย เช่น เป็นปลากัดเก่งจากเวียดนาม ลักษณะการกัดชอบกัดตา กัดปาก

          พานตัวเมีย หมายถึง การนำปลาตัวเมียใส่ไปในโหลปลาเก่งที่มีขนาดใหญ่ เพื่อให้ปลากัดตัวผู้ได้ออกกำลังกาย

          หยกปลา หมายถึง การนำปลากัดขนาดเล็ก ใส่ไปในโหลปลากัดเก่ง เพื่อให้ปลาเก่งนั้นไล่กัด

          ความแตกต่างระหว่าง พานตัวเมีย กับหยกปลา ส่วนมากการพานตัวเมียนั้น จะใช้ตัวเมียวัยเจริญพันธุ์ หรือกำลังท้องใส่ลงไปเพื่อให้ตัวผู้เกิดอาการคึกคัก นักเลี้ยงปลากัดเก่งส่วนใหญ่จะไม่ให้ปลาตัวผู้กัด ถ้าเริ่มกัดเมื่อไหร่จะตักปลาตัวเมียออก ส่วนการหยกปลานั้น จะปล่อยให้ปลากัดเก่งตัวผู้ไล่กัด แต่เนื่องด้วยปลาที่ใช้กัดเป็นปลาตัวเล็ก จึงมีความรวดเร็วในการหนี ทำให้ปลากัดเก่งตัวผู้ต้องวิ่งไล่และหาจังหวะในการกัด การกระทำทั้งสองอย่าง ทำให้ปลากัดเก่งได้ออกกำลังกายและฝึกความไว้ในการหาจังหวะกัดนั่นเอง


   คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่ค่ะ  

 
 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ปลากัด กับภาษาคนกัดปลา อัปเดตล่าสุด 26 มกราคม 2554 เวลา 18:25:22 12,030 อ่าน
TOP
x close