สรวุฒิ ชี้ขึ้นทะเบียนสัตว์เป็นการผลักภาระให้ประชาชน ควรให้ขึ้นทะเบียนฟรีในช่วงแรก แนะควรทบทวนใหม่ มีบทลงโทษที่อาจเป็นช่องทางการทุจริต เพราะต้องมีการจัดซื้อจัดจ้างอีก
จากกรณีที่คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ โดยมีจุดสำคัญคือการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงและเก็บค่าธรรมเนียม รวมถึงค่าปรับ อันเกิดจากประชาชนในท้องถิ่นนั้นไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติข้างต้น หากมีบุคคลใดฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 25,000 บาท [อ่านข่าว : ครม. ไฟเขียวกฎหมายขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยง นำร่องหมา-แมว ฝ่าฝืนปรับ 25,000]
เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 11 ตุลาคม 2561 เว็บไซต์เดลินิวส์ออนไลน์ รายงานว่า นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ว่าที่รองเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ระบุว่า ข้อกำหนดการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงนั้น แม้ยังไม่บังคับใช้ แต่ก็ต้องเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก่อนประกาศใช้เป็นกฎหมาย
โดยการลงทะเบียนสัตว์เลี้ยงนั้นต้องมีการฝังไมโครชิป
ซึ่งเป็นการผลักภาระให้ประชาชน และยังก่อให้เกิดปัญหาการทอดทิ้งสัตว์
ขณะเดียวกัน การขึ้นทะเบียน 3 ขั้นตอน ก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
ช่วงแรกควรเปิดให้ลงทะเบียนฟรีตลอดอายุของสัตว์
เพราะหากสัตว์เปลี่ยนเจ้าของก็ต้องมาจดทะเบียนใหม่อีก
นายสรวุฒิ
กล่าวต่อว่า ส่วนของบทลงโทษนั้น อาจจะเปิดช่องทางการทุจริต
และเป็นอะไรที่ลักลั่นกัน เพราะต้องมาจัดซื้อจัดจ้างเครื่องมืออีก
ส่วนประเด็นที่บอกว่าร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวช่วยคัดกรอง
และป้องกันโรคระบาดในสัตว์นั้น ตนเห็นว่าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
ควรปลดล็อกให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดซื้อวัคซีน
หรือทำหมันสัตว์ได้ เพื่อป้องกันปัญหาได้อย่างถูกทาง
จากกรณีที่คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ โดยมีจุดสำคัญคือการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงและเก็บค่าธรรมเนียม รวมถึงค่าปรับ อันเกิดจากประชาชนในท้องถิ่นนั้นไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติข้างต้น หากมีบุคคลใดฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 25,000 บาท [อ่านข่าว : ครม. ไฟเขียวกฎหมายขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยง นำร่องหมา-แมว ฝ่าฝืนปรับ 25,000]
เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 11 ตุลาคม 2561 เว็บไซต์เดลินิวส์ออนไลน์ รายงานว่า นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ว่าที่รองเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ระบุว่า ข้อกำหนดการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงนั้น แม้ยังไม่บังคับใช้ แต่ก็ต้องเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก่อนประกาศใช้เป็นกฎหมาย
ภาพจาก เฟซบุ๊ก สรวุฒิ เนื่องจำนงค์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก