ทำความรู้จัก ปลาหางนกยูง อีกหนึ่งปลาสวยงามที่คนนิยมเลี้ยง มีสายพันธุ์อะไรเป็นที่นิยมบ้าง มีวิธีเลี้ยงอย่างไร กินอะไรเป็นอาหาร มาดูกันเลย
ปลาหางนกยูง มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Guppy หรือ Millions Fish หรือ Live Bearing Tooth Carp มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ มักพบได้ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น หมู่เกาะแคริบเบียนและแถบลุ่มน้ำแอมะซอน ต่อมาได้มีการพัฒนาสายพันธุ์จนกลายเป็นปลาสวยงามน้ำจืดอีกหนึ่งชนิดที่คนนิยมเลี้ยง
ปลาหางนกยูง เป็นปลาขนาดเล็ก มีขนาดลำตัวประมาณ 3-7 เซนติเมตร โดยตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ในขณะที่ตัวผู้จะมีสีสันและลวดลายบริเวณหางโดดเด่นกว่าตัวเมีย ซึ่งเป็นจุดที่ใช้ในการคัดแยกสายพันธุ์ นอกจากนี้ยังเป็นสายพันธุ์ปลาที่โตไวและเลี้ยงง่ายอีกด้วย
ปลาหางนกยูงสายพันธุ์โมเสก มีจุดเด่นที่มีครีบหลังและหางเป็นลายโมเสกตามชื่อสายพันธุ์ มีทั้งแบบเป็นแต้มใหญ่หรือลายต่อกัน โดยลําตัวอาจจะมีสีแตกต่างกันไป มีทั้งแบบมีลวดลายและไม่มีลวดลาย
ปลาหางนกยูงสายพันธุ์ทักซิโด้ แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ย่อย คือ แบบสีพื้นและแบบมีลวดลาย จากหัวไปถึงกลางลำตัวจะมีสีเงิน ตั้งแต่กลางลำตัวไปจนถึงโคนหางจะมีสีดำหรือน้ำเงิน ส่วนหางและครีบหลังมีสีและลวดลายแตกต่างกันไป
ปลาหางนกยูงสายพันธุ์กราส จุดเด่นอยู่ที่แต้มสีดำ ซึ่งจะมีทั้งลำตัวและหางและจะกระจายอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งสีพื้นจะเป็นสีเดียวกันไม่มีสีอื่นแซม
ปลาหางนกยูงสายพันธุ์คอบร้าหรือสเนคสกิน ลําตัวจะมีลวดลายคล้ายหนังงู เป็นลายแบบสมํ่าเสมอชัดเจนตลอดลําตัวรวมถึงครีบหลังและหาง และทั้งหมดควรมีสีและลวดลายที่เหมือนกัน
ปลาหางนกยูงสายพันธุ์โซลิดนี้ ทั้งลําตัว ครีบ และหาง จะเป็นสีเดียวกันทั้งหมด ไม่มีจุดหรือลวดลาย
ปลาหางนกยูงสายพันธุ์อัลบิโน จะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ย่อย คือ อัลบิโนสีพื้น จุดเด่นอยู่ที่ตาสีแดง ส่วนลำตัวและหางจะเป็นสีอะไรก็ได้ สำหรับอัลบิโนลายจะมีตาสีแดงเหมือนกัน แต่ลําตัวกับหางอาจจะมีลายที่ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งสองส่วนก็ได้
ปลาหางนกยูงสายพันธุ์ริบบอน จุดเด่นอยู่ที่มีครีบทุกส่วนยาวใกล้เคียงกัน ยกเว้นครีบใต้ท้องจะยาวกว่าส่วนอื่น ๆ
สำหรับจุดเด่นของปลาหางนกยูงสายพันธุ์สวอลโลนั้น ครีบต่าง ๆ จะมีปลายแตกแขนงพลิ้วไหวสวยงาม โดยมีทั้งสีพื้นและแบบมีลวดลาย
ปลาหางนกยูงสายพันธุ์อิสระ เป็นสายพันธุ์ที่มีครีบหางที่เป็นลักษณะอื่นและแตกต่างออกไปจาก 8 สายพันธุ์หลักด้านบน เช่น ก้านร่ม พินเทล และเดลตาเทล เป็นต้น
หากพบปลาที่เป็นโรคควรแยกออกมาจากฝูงและรักษาตามอาการที่เจอ พร้อมกับทำความสะอาดบ่อหรือตู้ปลาทันที เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาตัวอื่น ๆ ติดโรค โดยสามารถหาซื้อสารเคมีหรือยาสำหรับรักษาโรคได้ที่ร้านอุปกรณ์เลี้ยงปลาสวยงามทั่วไป
ปลาหางนกยูงถือเป็นปลาสวยงามอีกหนึ่งชนิดที่หลายคนนิยมเลี้ยง แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากการให้อาหารที่เหมาะสมแล้ว อย่าลืมดูแลรักษาความสะอาดบ่อหรือตู้ปลาด้วย เพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ ที่จะตามมา
ขอบคุณข้อมูลจาก : fisheries.go.th, eto.ku.ac.th และ kku.ac.th
ด้วยสีสันที่สวยงามและสะดุดตาเลยทำให้ ปลาหางนกยูง เป็นปลาอีกหนึ่งชนิดที่คนนิยมนำมาเลี้ยง แต่ทว่าแม้จะดูเหมือนเลี้ยงง่าย แต่จริง ๆ แล้วถ้าอยากให้พวกมันมีสีสันสดใสสวยงาม สภาพสมบูรณ์ และมีสุขภาพที่ดี ไม่มีโรคแล้วละก็ มาดูวิธีเลี้ยงปลาหางนกยูงที่ถูกต้องพร้อมทำความรู้จักพวกมันให้มากขึ้นกัน
ประวัติปลาหางนกยูง
ปลาหางนกยูง มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Guppy หรือ Millions Fish หรือ Live Bearing Tooth Carp มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ มักพบได้ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น หมู่เกาะแคริบเบียนและแถบลุ่มน้ำแอมะซอน ต่อมาได้มีการพัฒนาสายพันธุ์จนกลายเป็นปลาสวยงามน้ำจืดอีกหนึ่งชนิดที่คนนิยมเลี้ยง
ลักษณะปลาหางนกยูง
ปลาหางนกยูง เป็นปลาขนาดเล็ก มีขนาดลำตัวประมาณ 3-7 เซนติเมตร โดยตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ในขณะที่ตัวผู้จะมีสีสันและลวดลายบริเวณหางโดดเด่นกว่าตัวเมีย ซึ่งเป็นจุดที่ใช้ในการคัดแยกสายพันธุ์ นอกจากนี้ยังเป็นสายพันธุ์ปลาที่โตไวและเลี้ยงง่ายอีกด้วย
สายพันธุ์ปลานกยูงที่นิยมเลี้ยงในไทย
1. สายพันธุ์โมเสก (Mosaic)
ปลาหางนกยูงสายพันธุ์โมเสก มีจุดเด่นที่มีครีบหลังและหางเป็นลายโมเสกตามชื่อสายพันธุ์ มีทั้งแบบเป็นแต้มใหญ่หรือลายต่อกัน โดยลําตัวอาจจะมีสีแตกต่างกันไป มีทั้งแบบมีลวดลายและไม่มีลวดลาย
2. สายพันธุ์ทักซิโด้ (Tuxedo)
ปลาหางนกยูงสายพันธุ์ทักซิโด้ แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ย่อย คือ แบบสีพื้นและแบบมีลวดลาย จากหัวไปถึงกลางลำตัวจะมีสีเงิน ตั้งแต่กลางลำตัวไปจนถึงโคนหางจะมีสีดำหรือน้ำเงิน ส่วนหางและครีบหลังมีสีและลวดลายแตกต่างกันไป
3. สายพันธุ์กราส (Grass)
ปลาหางนกยูงสายพันธุ์กราส จุดเด่นอยู่ที่แต้มสีดำ ซึ่งจะมีทั้งลำตัวและหางและจะกระจายอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งสีพื้นจะเป็นสีเดียวกันไม่มีสีอื่นแซม
4. สายพันธุ์คอบร้าหรือสเนคสกิน (Cobra / Snake skin)
ปลาหางนกยูงสายพันธุ์คอบร้าหรือสเนคสกิน ลําตัวจะมีลวดลายคล้ายหนังงู เป็นลายแบบสมํ่าเสมอชัดเจนตลอดลําตัวรวมถึงครีบหลังและหาง และทั้งหมดควรมีสีและลวดลายที่เหมือนกัน
5. สายพันธุ์โซลิด (Solid)
ปลาหางนกยูงสายพันธุ์โซลิดนี้ ทั้งลําตัว ครีบ และหาง จะเป็นสีเดียวกันทั้งหมด ไม่มีจุดหรือลวดลาย
6. สายพันธุ์อัลบิโน (Albino)
ปลาหางนกยูงสายพันธุ์อัลบิโน จะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ย่อย คือ อัลบิโนสีพื้น จุดเด่นอยู่ที่ตาสีแดง ส่วนลำตัวและหางจะเป็นสีอะไรก็ได้ สำหรับอัลบิโนลายจะมีตาสีแดงเหมือนกัน แต่ลําตัวกับหางอาจจะมีลายที่ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งสองส่วนก็ได้
7. สายพันธุ์ริบบอน (Ribbon)
ปลาหางนกยูงสายพันธุ์ริบบอน จุดเด่นอยู่ที่มีครีบทุกส่วนยาวใกล้เคียงกัน ยกเว้นครีบใต้ท้องจะยาวกว่าส่วนอื่น ๆ
8. สายพันธุ์สวอลโล (Swallow)
สำหรับจุดเด่นของปลาหางนกยูงสายพันธุ์สวอลโลนั้น ครีบต่าง ๆ จะมีปลายแตกแขนงพลิ้วไหวสวยงาม โดยมีทั้งสีพื้นและแบบมีลวดลาย
9. สายพันธุ์อิสระ (Open)
ปลาหางนกยูงสายพันธุ์อิสระ เป็นสายพันธุ์ที่มีครีบหางที่เป็นลักษณะอื่นและแตกต่างออกไปจาก 8 สายพันธุ์หลักด้านบน เช่น ก้านร่ม พินเทล และเดลตาเทล เป็นต้น
วิธีเลี้ยงปลาหางนกยูง
ปลาหางนกยูงชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง แต่เนื่องจากสามารถผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่ 3 เดือน ดังนั้นควรเลี้ยงตัวเมียกับตัวผู้แยกกัน เพื่อไม่ไม่ปลาครอกเดียวกันผสมพันธุ์กันเอง โดยน้ำที่ใช้เลี้ยงควรเป็นน้ำสะอาด หากใช้น้ำบาดาลหรือน้ำประปาควรพักน้ำไว้ก่อน 1 สัปดาห์ เพื่อกำจัดคลอรีน นอกจากนี้ควรมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ที่ประมาณ 6.5-7.5 และอุณหภูมิน้ำประมาณ 25-19 องศาเซลเซียส ส่วนบ่อหรือตู้ปลาก็ควรทำความสะอาดให้เรียบร้อยเช่นเดียวกัน พร้อมกับนำไปผึ่งแดดให้แห้ง และใส่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนนำปลาหางนกยูงลงไปปล่อย หากเป็นไปได้ควรเป็นน้ำที่มีการหมุนเวียนตลอดเวลา
นอกจากนี้ควรดูดเอาขยะออกสัปดาห์ละครั้ง โดยถ่ายน้ำก้นถังให้เหลือน้ำเก่าประมาณครึ่งหนึ่ง และเติมน้ำใหม่เข้าไป ไม่ควรถ่ายน้ำออกทั้งตู้ เพราะอาจจะทำให้ปลาปรับตัวไม่ทันและตายได้ และควรล้างทำความสะอาดตู้ปลารวมถึงเปลี่ยนน้ำใหม่ทั้งหมดเดือนละครั้ง
ปลาหางนกยูงกินได้ทั้งพืชและสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ลูกน้ำ ไรแดง ไรทะเล รวมถึงอาหารปลาสำเร็จรูป หากเป็นอาหารสดควรนำมาทำความสะอาดก่อน โดยการแช่ในด่างทับทิมประมาณ 10-20 วินาที ก่อนนำไปให้ปลากินเป็นอาหาร และให้อาหารวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้ากับตอนเย็น หากปลานกยูงกินอาหารไม่หมดควรตักเศษอาหารที่เหลือทิ้งทันที
นอกจากนี้ควรดูดเอาขยะออกสัปดาห์ละครั้ง โดยถ่ายน้ำก้นถังให้เหลือน้ำเก่าประมาณครึ่งหนึ่ง และเติมน้ำใหม่เข้าไป ไม่ควรถ่ายน้ำออกทั้งตู้ เพราะอาจจะทำให้ปลาปรับตัวไม่ทันและตายได้ และควรล้างทำความสะอาดตู้ปลารวมถึงเปลี่ยนน้ำใหม่ทั้งหมดเดือนละครั้ง
อาหารปลาหางนกยูง
ปลาหางนกยูงกินได้ทั้งพืชและสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ลูกน้ำ ไรแดง ไรทะเล รวมถึงอาหารปลาสำเร็จรูป หากเป็นอาหารสดควรนำมาทำความสะอาดก่อน โดยการแช่ในด่างทับทิมประมาณ 10-20 วินาที ก่อนนำไปให้ปลากินเป็นอาหาร และให้อาหารวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้ากับตอนเย็น หากปลานกยูงกินอาหารไม่หมดควรตักเศษอาหารที่เหลือทิ้งทันที
โรคปลาหางนกยูงที่ควรระวัง
แม้ปลาหางนกยูงจะสามารถปรับตัวได้ง่ายในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ แต่ก็มีโรคที่ต้องระวังเช่นกัน คือ โรคจุดขาว โรคจากปลิงใส โรคจากหนอนสมอ และโรคแบคทีเรีย ซึ่งอาการเบื้องต้นสามารถสังเกตเห็นได้จากความผิดปกติภายนอกทั้งลำตัวและหาง นอกจากนี้อาจมีอาการท้องบวมหรือเกล็ดล่อนร่วมด้วย
หากพบปลาที่เป็นโรคควรแยกออกมาจากฝูงและรักษาตามอาการที่เจอ พร้อมกับทำความสะอาดบ่อหรือตู้ปลาทันที เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาตัวอื่น ๆ ติดโรค โดยสามารถหาซื้อสารเคมีหรือยาสำหรับรักษาโรคได้ที่ร้านอุปกรณ์เลี้ยงปลาสวยงามทั่วไป
ปลาหางนกยูงถือเป็นปลาสวยงามอีกหนึ่งชนิดที่หลายคนนิยมเลี้ยง แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากการให้อาหารที่เหมาะสมแล้ว อย่าลืมดูแลรักษาความสะอาดบ่อหรือตู้ปลาด้วย เพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ ที่จะตามมา
ขอบคุณข้อมูลจาก : fisheries.go.th, eto.ku.ac.th และ kku.ac.th