x close

รอบรู้ วิธีดูแลสุนัขที่ถูกต้อง





วิธีดูแลสุนัขที่ถูกต้อง (TSCPA)

           เพื่อให้สุนัขของท่านมีสุขภาพดี และมีความสุข สุนัขจำเป็นที่จะได้รับโภชนาการที่ให้ความสมดุลต่อร่างกาย การดูแลรักษาจากสัตวแพทย์โดยสม่ำเสมอ การออกกำลังกาย และที่สำคัญคือการได้ความรักความเอ็นดูจากเจ้าของ
 
ที่อยู่อาศัย

           สุนัขที่อยู่นอกบ้านควรจะมีที่กำบังจากแดด ฝน และลมหนาว

           สุนัขต้องการที่หลับนอนที่อบอุ่น/เย็นสบาย

           ถ้าจะผูกสุนัขไว้ ควรใช้เชือก/โซ่ยาว โปรดระวังโซ่หรือเชือกจะพันรอบตัวสุนัขทำให้ได้รับความเจ็บปวด

การให้อาหารและน้ำดื่ม

           สุนัขต้องการสารอาหารเพื่อสร้างสมดุลร่าง กาย ประกอบด้วย โปรตีน และไฟเบอร์ อาหารเหลือจากครัวเรือน ย่อมไม่เพียงพอที่จะสร้างความแข็งแรง และรักษาสุขภาพที่ดีของร่างกายสุนัขได้

           อาหารที่เป็นเศษกระดูกแหลมคม อาจจะทิ่มลำคอหรือก่อให้เกิดปัญหาในลำไส้ ถ้าสุนัขกลืนเข้าไป

           น้ำควรจะมีให้สุนัขได้ดื่มกินเสมอในภาชนะที่สะอาด

การออกกำลังกาย    

           ไม่ควรผูกสุนัขไว้ตลอดเวลา เพราะสุนัขต้องการออกกำลังกายสม่ำเสมอ

           ควรให้สุนัขได้มีโอกาสออกเดินในแต่ละวัน หรือเล่นสนุกกับของเล่นหรือลูกบอล ซึ่งจะทำให้สุนัข กระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า ไม่ซึมเศร้า

           สุนัขที่ถูกกักไว้มักจะเห่าหอนรบกวนเพื่อนบ้าน

อนามัย 

           สุนัขที่ไม่ได้รับการเหลียวแล มักจะเกิด ไร ริ้น หมัด เหา และสัตว์กินเลือดต่างๆรบกวน โปรดปรึกษากับสัตวแพทย์

           รักษาสุนัขและที่อยู่อาศัยของเขาให้สะอาดเสมอ

การฉีดวัคซีน    

           สุนัขมักจะมีความเสี่ยงจากโรคร้ายต่างๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุนัข และทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการรักษา

           การทำวัคซีนสุนัขจะช่วยป้องกันสุนัขเจ็บป่วยหรือเกิดโรค ซึ่งอาจแพร่ระบาดไปยังสุนัขตัวอื่นๆได้
      
การขยายพันธุ์สุนัข    
 
           ทุกๆ ปี สุนัขเป็นจำนวนนับพันนับหมื่นถูกทำลาย เพราะไม่มีที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ

           สุนัขเพศเมียสามารถให้กำเนิดลูกสุนัขได้ เป็นจำนวนหลายๆ ตัวในแต่ละปี ภายในระยะเวลา 6 ปี สุนัขแต่ละคู่สามารถผลิตลูกได้ถึง 67,000 ตัว โดยการให้กำเนิดและเลี้ยงลูก

           แม่สุนัขจะมีสุขภาพทรุดโทรมลง

           แม่สุนัขที่ตั้งท้อง ย่อมต้องการอาหารเป็นพิเศษ


           ลูกสุนัขตามปกติจะกินน้ำนมจากแม่ประมาณ 3 สัปดาห์ แล้วจะเริ่มกินอาหารได้ด้วยตัวเอง

           แม่สุนัขตามปกติจะดุและหวงลูกๆในช่วงเวลาดังกล่าว จึงควรจัดสถานที่ที่เงียบสงบปราศจากการรบกวนให้แม่สุนัขกับลูกๆได้อยู่

           เพื่อป้องกันในกรณีที่ไม่ต้องการลูกสุนัข โปรดนำสุนัขของท่านไปตอน/ทำหมัน จากสัตวแพทย์

การแปรงและทำความสะอาดขน    
 
           การแปรงขนเป็นประจำจะทำให้สุนัขสะอาดปราศจากกลิ่นหมักหมมแลดูเรียบร้อยและในขณะเดียวกันจะช่วยตรวจสอบพวกปรสิตได้

           การแปรงขนจะช่วยให้สุนัขเกิดความเคยชินเป็นนิสัยอีกด้วย
      
การทำหมัน    

           เครื่องมือและเวชภัณฑ์แพทย์สมัยใหม่ทำให้การผ่าตัดปลอดภัย ไม่เจ็บปวด แต่ฟื้นตัวเร็ว

           โปรดสอบถามกับสัตวแพทย์ว่าเมื่อใดที่เหมาะสมที่จะทำหมันและฉีดยาให้สุนัข

           สุนัขของท่านไม่จำเป็นที่จะรอให้ถึงระยะมีระดูก่อนทำหมัน

           การทำหมันตั้งแต่ต้นอายุ 8 สัปดาห์ ขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมโดยทั่วไป

           เมื่อสุนัขตัวเมียได้ทำหมัน ก็จะไม่กลับมาเป็นสัดอีก และจะไม่เป็นที่สนใจของสุนัขตัวผู้

           การทำหมันสุนัขตัวเมียสามารถช่วยลดความเสี่ยงเนื้องอกในเต้านมสุนัขได้

           นอกจากนี้ การทำหมันยังช่วยลดอาการดุร้ายและการเตร็ดเตร่ออกนอกบ้าน

 
ปรึกษาสัตวแพทย์ในกรณีต่อไปนี้    
 
           โภชนาการสุนัข การฝึกสุนัข

           การรักษาป้องกันพวกเชื้อโรคปรสิต

           การทำวัคซีน

           การตอน/ทำหมัน

           เรื่องอันเกี่ยวกับสุขภาพสุนัขโดยทั่วไป


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

      
      
      

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
รอบรู้ วิธีดูแลสุนัขที่ถูกต้อง อัปเดตล่าสุด 17 กรกฎาคม 2552 เวลา 14:26:39 30,472 อ่าน
TOP