x close

ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์ ปลาสวยงาม เลี้ยงง่่าย


ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์

ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์

ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์ (เดลินิวส์)
โดย ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ

          "ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์" เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ปัจจุบันในธรรมชาติจะพบเฉพาะในแม่น้ำคองโกเท่านั้น ไม่พบในประเทศไทย จัดเป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ในน้ำนิ่งหรือน้ำไหลเอื่อย ๆ ชอบอาศัยตามโพรงหิน โพรงไม้และตามรากไม้จมน้ำที่มีแสงผ่านได้น้อยหรือเป็นน้ำหมักที่มีการสะสมของสารอินทรีย์ เช่น ใบไม้ทับถมกันและมีอุณหภูมิของน้ำเฉลี่ย 23-28 องศาเซลเซียส

          ลักษณะรูปร่างของปลาดุกไฟฟ้ายักษ์จะมีรูปร่างกลมและยาวคล้ายไส้กรอก ไม่มีครีบหลังแต่จะมีครีบไขมันขนาดใหญ่ ที่อยู่ค่อนไปทางส่วนท้ายของลำตัวติดกับครีบหาง
   
          คุณชวิน ตันพิทยคุปต์ หนึ่งในผู้ที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงปลาแปลกและสวยงาม ทั้งในและต่างประเทศได้ย้ำว่าปลาดุกไฟฟ้ายักษ์ไม่พบในแหล่งน้ำในประเทศไทย ใครที่ซื้อมาเลี้ยงเป็นปลาแปลกและปลาสวยงามแล้วเบื่อ ห้ามปล่อยลงสู่แหล่งน้ำไทยอย่างเด็ดขาด ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้จะมีอวัยวะที่สร้างไฟฟ้าเรียงตัวอยู่บริเวณด้านข้างของลำตัว สามารถสร้างกระแสไฟฟ้า ที่รุนแรงได้ถึง 350 โวลต์ โดยกระแสไฟฟ้าดังกล่าวใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวและฆ่าเหยื่อที่จะจับกิน บริเวณลำตัวมีสีเทา มีจุดประสีดำขนาดใหญ่และเล็กกระจายอยู่ทั่วลำตัว จัดเป็นปลาที่ค่อนข้างดุร้ายจึงไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น แม้แต่เลี้ยงรวมด้วยกันจะพบปัญหากัดกันเอง
   
          อาหารหลักของ ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์ คือปลาเล็ก ๆ ทุกชนิด แต่จัดเป็นปลาที่เคลื่อน ที่ช้า ไม่ว่องไว ดวงตามีขนาดเล็กและใช้การได้ไม่ดีนัก วิธีการล่าเหยื่อจะใช้กระแสไฟฟ้าช็อตให้ปลาหมดสติหรือตายทันทีแล้ว ค่อยกลืนกินเป็นอาหาร คุณชวินยังบอกว่าหลายคนจะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างปลาดุกไฟฟ้ายักษ์กับปลาดุกไฟฟ้า กับปลาดุกธรรมดา

ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์


    
          ข้อแตกต่างที่สำคัญประการแรกก็คือขนาดและการเจริญเติบโต ปลาดุกไฟฟ้าธรรมดาที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติจะเจริญเติบโตได้เต็มที่มีความยาวของลำตัวได้ถึง 1 เมตร เรียกได้ว่าตัวใหญ่ที่สุดในบรรดาปลาดุกไฟฟ้าทุกชนิด แต่เมื่อนำมาเลี้ยงในตู้เป็นปลาสวยงาม จะเจริญเติบโตช้ามากจากประสบการณ์ของคุณชวินเคยพบมาโตเต็มที่ไม่เกิน 12 นิ้ว ในขณะที่ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์เมื่อนำมาเลี้ยงในตู้พบว่าเจริญเติบโตเร็วมาก ขณะนี้มีคนเลี้ยงได้ขนาดลำตัวถึง 50-60 เซนติเมตรก็มี

          สำหรับข้อแตกต่างปลีกย่อยอื่น ๆ ก็คือรูปร่างลักษณะอื่น ๆ อาทิ ส่วนหัวของปลาดุกไฟฟ้าธรรมดาจะสั้นกลม จะงอยปากสั้นทู่ แต่ส่วนหัวของปลาดุกไฟฟ้ายักษ์จะลาดยาวเรียวแหลมกว่าชัดเจน จะงอยปากยาวช่องเปิดของปากมีขนาดเล็กกว่าส่วนของลำตัวปลาดุกไฟฟ้าธรรมดาจะมีลำตัวสีน้ำตาลอมชมพู ในขณะที่ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์มีสีเทา
   
          ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์จัดเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายชนิดหนึ่ง ระมัดระวังเรื่องอาการผิดน้ำ หลังจากที่ย้ายปลามาลงใหม่ ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปลาชนิดนี้ชอบน้ำเก่าหรือน้ำหมัก


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เดลินิวส์, วิกิพีเดีย







เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์ ปลาสวยงาม เลี้ยงง่่าย อัปเดตล่าสุด 28 ธันวาคม 2552 เวลา 20:34:50 3,194 อ่าน
TOP