x close

วิธีป้อนยา น้องหมา - น้องแมว





การให้ยา สัตว์เลี้ยง (โรงพยาบาลสัตว์ ม.เกษตร บางเขน)
โดย  รศ.น.สพ.ดร.กมลชัย ตรงวานิชนาม

          เมื่อสัตวแพทย์มีความเห็นว่าต้องให้ยา เพื่อรักษาอาหารเจ็บป่วยของสัตว์เลี้ยง ก็จะสั่งยาเพื่อรักษาโรคตามการวินิจฉัยนั้น ถ้าเป็นยาฉีดจะดำเนินการโดยสัตวแพทย์ แต่ถ้าเป็นยาที่ให้กินหรือยาใช้ภายนอก (เช่น ยาทาแผล ยาหยอดตา และยาหยอดหู)แล้ว สัตวแพทย์จะสั่งยาเพื่อให้เจ้าของสัตว์ไปดำเนินการให้ยาเอง

          ดังนั้น เจ้าของสัตว์จึงควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการให้ยาเอง เพื่อที่จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพและไม่เกิดการดื้อยา แต่บางครั้งก็มีการให้ยาโดยที่สัตว์เลี้ยงไม่ได้เจ็บป่วย เช่น ยาถ่ายพยาธิ และยาบำรุง เป็นต้น

รูปแบบของยาที่ให้

          ยาที่ให้สัตว์มีหลายรูปแบบตามวัตถุประสงค์และความสะดวกในการให้ มีทั้งรูปแบบยาฉีด ยากิน ยาสูดดม และยาใช้ภายนอก โดยยาฉีดและยาสูดดมนั้น จะดำเนินการโดยสัตวแพทย์ ส่วนยากินและใช้ภายนอก สัตวแพทย์จะบอกเจ้าของสัตว์เลี้ยงไปดำเนินการเอง

          ยากินที่สัตวแพทย์มักจ่ายให้กับสัตว์เลี้ยง ได้แก่ ยาเม็ด ยาผลผสมน้ำ และยาไซรัป ส่วนยาใช้ภายนอก ได้แก่ ครีมทาผิวหนัง ยาหยอดตา และยาหยอดหู

วิธีการให้ยาสุนัข

          1.วิธีการป้อนยาเม็ด

          ใช้มือข้างหนึ่งเปิดปากสุนัขเบา ๆ

          ใข้มือข้างหนึ่งวางยาลงบนด้านในสุดของลิ้น

          ปิดปากสุนัข และใช้มือลูบคอ

          เมื่อสุนัขเลียปาก แสดงว่ากลืนยาลงไปในกระเพาะอาหารแล้ว ให้พูดชมสุนัข

          2.วิธีการป้อนยาน้ำ

          เขย่าขวดยาก่อนแล้วดูดยาใส่ภาชนะที่ใช้ป้อนยา เช่น กระบอกฉีดยาพลาสติก

          จับหน้าสุนัขเงยขึ้นเล็กน้อย

          ค่อย ๆ ปล่อยยาใส่บริเวณด้านข้างระหว่างฟันกับริมฝีปาก

          3.วิธีการให้ยาหยอดตา

          ทำความสะอาดตาโดยใช้สำลีชุบน้ำสะอาดรหือน้ำเกลือเช็ดขี้ตาออก

          ค่อย ๆ บังคับสุนัขและให้ตาเปิด วางมือตรงด้านหลังใบหน้าของสุนัข เพื่อไม่ให้สุนัขมองเห็น

          บีบน้ำยาลงไปที่ตา ระวังอย่าให้ภาชนะใส่ยาสัมผัสลูกตาและปล่อยให้ยากระจายทั่วตา

          4.วิธีการให้ยาหยอดหู

          จับหัวของสุนัขให้นิ่ง ใบหูพับไปด้านหลังและทำความสะอาดหูโดยใข้น้ำยาล้างหู ห้ามใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์และเบตาดีนเช็ดเด็ดขาด

          ใส่ยาหยอดหู

          นำใบหูของสุนัขไปไว้ตำแหน่งเดิม จากนั้นใช้นิ้วนวดที่กกหูเพื่อให้ยากระจายได้ทั่วช่องหู

วิธีการป้อนยาเม็ดให้แมว

          ข้อควรระวังในหารป้อนยาแมวคือ การใช้เท้าหน้าข่วน เพราะเล็บแมวคมมาก จึงต้องมีคนมาช่วจับขาหน้าไว้ด้วยเมื่อให้ยาแมว การให้ยาหยอดตา และยาหยอดหูใช้วิธีการเดียวกับสุนัข ส่วนการป้อนยาน้ำใช้วิธีคล้ายกับการป้อนยาน้ำให้สุนัข โดยค่อยๆปล่อนหรือฉีดยาใส่เข้าไประหว่างฟันด้านหลังฟันเขี้ยว แทนที่จะค่อยๆปล่อยหรือฉีดยาใส่บริเวณด้านข้างระหว่างฟันกับริมฝีปากดังที่ ปฏิบัติกับสุนัข แต่การป้อนยาเม็ดให้แมวจะมีข้อแตกต่างจากการป้อนยาเม็ดในสุนัข แต่การป้อนยาเม็ดให้แมวจะมีข้อแตกต่างจากการป้อนยาเม็ดในสุนัข เมื่อต้องการป้อนยาเม็ดให้แมวต้องปฏิบัติดังนี้

          1.ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือข้างหนึ่งกดปากแมวให้เปิดกว้างมากที่สุดโดยให้มืออยู่เหนือหัวแม่มือ

          2.ใช้มืออีกข้างหนึ่งรีบใส่ยาในปากโดยให้เข้าให้ลึกมากที่สุด แต่ต้องระวังฟันเขี้ยวของแมวด้วย

          3.รีบปิดปากแมว

การเก็บรักษายา

          เมื่อได้รับยามาจากสัตวแพทย์ต้องตรวจสอบว่าได้ รับยาถูกต้องหรือไม่ และต้องเก็บรักษาให้ถูกวิธีด้วย ดังนั้นเมื่อไดรับยาจากสัตวแพทย์ ควรกระทำดังนี้

          1.เก็บยาไว้ในสถานที่ ที่สะดวก หยิบใช้ง่าย มีอากาศถ่ายแทแต่ไม่ถูกแสงแดดหรือความร้อนมาก และไม่อยู่บริเวณทที่สัตวเลี้ยงสามารถจะเขี่ยเล่นหรือกินได้เอง

          2.เก็บยาในตู้เย็นในกรณีที่สัตวแพทย์แนะนำให้เก็บในตู้เย็น

          3.ไม่เก็บยาต่างขนิดไว้ในซองเดียวกันหรือภาชนะบรรจุเดียวกัน

          4.มีชื่อยาหรือสรรพคุณของยาปิดอยู่

          5.ก่อนใช้ยาต้องสังเกตว่ายกตกตะกอนหรือเปลี่ยนสีหรือไม่

          6.ตรวจดูวันหมดอายุของยาหรือวันที่รับยาซึ่งเขียนไว้ที่ซองยา

          7.ปิดฝาขวดหรือปิดถุงยาให้สนิทหลังจากใช้ยา

หลักการใช้ยาให้ได้ผล

          การที่จะให้ยากับสัตว์เลี้ยงให้มีประสิทธิภาพดีจนสัตว์มีอาการดีขึ้นหรือหายจากอาหารป่วย ต้องปฏิบัติดังนี้

          1.ให้ยาได้เต็มขนาดที่กำหนดไว้

          2.ให้ยาด้วยวิธีการให้และเวลาที่ให้ยาซ้ำตามที่แนะนำโดยสัตวแพทย์

          3.ระยะเวลายาวนานในการให้ยาต้องเหมาะสมกับชนิดของโรคนั่นคือต้องให้ยาจนหมดตามที่สัตวแพทย์สั่ง และต้องมาตรวจซ้ำตามกำหนดนัดหมาย

          4.แต่ถ้าสังเกตว่าไม่มีการตอบสนองที่ดีต่อการให้ยาต้องรีบปรึกษาสัตวแพทย์ โดยไม่ต้องรอให้ยาจนหมด เพื่อที่จะได้ตรวจวินิจฉัยหรือเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดใหม่ต่อไป

          5.ถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยาต้องสอบถามสัตวแทพย์ทันที

          6.ถ้าเกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์กับสัตว์ป่วยจากการใช้ยา เช่น อาเจียน น้ำลายไหล หายใจขัด ตัวสั่น และผิวหนังเป็นผื่นแดง ต้องรีบปรึกษาสัตวแพทย์ผู้สั่งจ่ายยาทันที

ความล้มเหลวจากการใช้ยา

          การที่ยาไม่ให้ผลที่ดีในการรักษาอาจจะเนื่องจาก...

          1.รักษาด้วยยาช้าเกินไปจนช่วยชีวิตสัตวป่วยไม่ทัน

          2.การวินิจฉัยไม่ถูกต้อง จึงใช้ยาไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของนายสัตวแพทย์

          3.ใช้ยาไม่เหมาะสม เช่น ให้ยาขนาดต่ำเกินไป และระยะเวล่ที่ให้ยาสั้นเกินไป

          4.ให้ยาที่เสื่อมคุณภาพ เช่น ตกตะกอน สีผิดปกติ และหมดอายุ เป็นต้น

          5.เชื้อแบคทีเรียเกิดการดื้อยา




ขอขอบคุณข้อมูลจาก



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
วิธีป้อนยา น้องหมา - น้องแมว อัปเดตล่าสุด 9 สิงหาคม 2553 เวลา 10:49:50 5,236 อ่าน
TOP